Thursday, March 6, 2014

การดูแลรักษาพอร์ตการลงทุน

 

   การดูแลรักษาพอร์ตการลงทุนก็เช่นเดียวกับการจัดการสวนที่ต้องการดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ  พอร์ตการลงทุนก็ต้องการการดูแลรักษาด้วยเช่นกัน  หากไม่เป็นเช่นนั้นคุณก็อาจจะต้องสูญเสียการควบคุมในปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของการจัดสรรการลงทุนในพอร์ตการลงทุนของคุณ   ดังนั้นการปรับสมดุลจึงเป็นหนึ่่งในสองหัวข้อสำคัญที่เราจะพูดกันในข้างหน้านี้  ส่วนหนึ่งคือการวางแผนภาษี  ซึ่งเราจะคุยกันอีกหัวข้อหนึ่งแต่ต้นนี้ขอเริ่มต้นที่ เรื่องการปรับสมดุลก่อนดังนี้

     การปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุน

    การปรับสมดุลจะทำให้พอร์ตการลงทุนของคุณยังคงมีระดับความเสี่ยงตามที่วางแผนไว้  หากปราศจากการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอมันจะทำให้เกิด "แนวทางที่คลาดเคลื่อนไปจากแผนการลงทุน" ในช่วงตลาดขาขึ้น  คุณจะมีความกล้าที่จะถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ในพอร์ตการลงทุนของคุณและถ้ายังไม่มีการปรับสมดุล....การลงทุนในหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นไปโดยอัตโนมัติ  ทำให้มีการประเมินราคาหุ้นสูงขึ้น  และควาคาดหวังต่อผลตอบแทนก็จะลดลง ในตลาดขาลง.. ความจริงที่เกิดขึ้นก็จะกลับกันนั้นคือ   การถือครองหุ้นในพอร์ตการลงทุนของคุณก็จะลดลงไป...เมื่อมีการประเมินราคาหุ้นลดลงดังนั้นผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ก็จะสูงขึ้น  วิธีการดังกล่าวจึงไม่น่าจะเป็นวิธีการลงทุนที่ชาญฉลาด

     ซื้อราคาต่ำและขายราคาสูง

     วิธีการปรับสมดุลเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก  แต่ก็ไม่ง่าย  นี่คือเหตุผลว่าทำไมอารมณ์จึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย  การปรับสมดุลยังทำให้คุณลดการถือครองในประเภทสินทรัพย์ที่มีผลงานดีอีกด้วย (เพราะคุณมักจะขายออกไปก่อนในราคาสูง) และเพิ่มสินทรัพย์ประเภทที่ยังมีผลงานไม่ดีนัก (ซื้อเข้ามาแล้วในราคาถูก)  อาจกล่าวได้ว่า  ฝันของนักลงทุนทุกคนก็คือ  การซื้อราคาต่ำและขายราคาสูงนั้นเอง

     ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการปรับสมดุลคือ  เมื่อเวลาผ่านไป  มันจะทำให้เกิดเงินโบนัสงอกเงยให้เราอีกด้วย  ผลตอบแทนต่อปีของพอร์ตการลงทุน (Portfolio's annualized return) จะมากกว่าผลตอบแทน เฉลี่ยตามน้ำหนักของประเภทสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนนั้นๆ ต่อปี  นี่คือ "ผลตอบแทนของการกระจายพอร์ตการลงทุน" หรือคือ "เงินโบนัสจากการปรับสมดุล" นั่นเองในพอร์ตการลงทุนถ้ายิ่งมีสินทรัพย์ประเภทที่มีความผันผวนอยู่มาก  ผลกระทบต่อการปรับสมดุลก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม  เหตุผลเป็นเพราะว่าเมื่อคุณปรับสมดุลแล้ว   คุณจะต้องซื้อทรัพยืสินต่างๆ ในราคาต่ำลงไปอีกและต้องขายทรัพย์สินในราคาสูงขึ้นอีกไปอีกด้วย  

     การตัดสินใจที่สำคัญคือ  การพิจารณากำหนดตัวชี้วัดการปรับสมดุล  และต่อไปนี้จะเป็นกฏเบื้องต้นที่จะช่วยให้คุณพิจารณาได้

กฏ 5/25 เปอร์เซนต์

     การปรับสมดุลอาจจะทำให้เกิดค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นและอาจจะตามมาด้วยภาระภาษีอีกด้วย  ดังนั้นคุณควรจะปรับสมดุลก็ต่อเมื่อกองทุนใหม่ๆ เปิดขาย  หรือการจัดสรรการลงทุนของคุณเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากนโยบายเดิมทีวางไว้  เหตุผลที่ควรใช้กฏ 5/25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจัดสรรการลงทุนก่อนการปรับสมดุลคือ  การปรับสมดุลจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสินทรัพย์ตัวหนึ่งตัวใดมากกว่าหรือน้อยกว่า 5% ของทรัพย์สินทั้งหมด  หรือมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์มากกว่าหรือน้อยกว่า 25% ของมูลค่าของตัวมันเอง  ซึ่งค่าการเปลี่ยนแปลงของตัวใดมีน้อยกว่า  ก็จะใช้ค่าที่น้อยกว่านั้นเป็นเกณฑ์

    ตัวอย่างเช่น  สมมติว่าประเภทของสินทรัพย์ตัวหนึ่งตัวใดถูกวางแผนไว้เป็น 10% ของพอร์ตการลงทุน  เราก็จะเริ่มใช้กฏ 5 เปอร์เซนต์  ดังนั้นหากประเภทของสินทรัพย์นั้นๆ ไม่ได้เกิดเปลี่ยนแปลงกับมูลค่าสินทรัพย์ตัวหนึ่งตัวใดมากกว่าหรือน้อยกว่า 5% ของสินทรัพย์ทั้งหมด  หรือมูลค่ายังอยู่ในช่วง 5% - 15% แล้ว ก็จะไม่มีการปรับสมดุลใดๆ ทั้งสิ้น

     อย่างไรก็ตาม  เรายังต้องใช้กฏ 25 เปอร์เซ็นต์ด้วย  นั่นคือหากราคาสินทรัพย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า 25% ของมูลค่าของตัวมันเองหรือคือ 25% ของมูลของตัวมันเองซึ่งอยู่ที่ 10% นั่นคือ 25% คูณ 10% เท่ากับ 2.5% ดังนั้นหากมูลค่ายังอยู่ในช่วง 7.5% - 12.5% แล้วไม่มีการปรับสมดุลใดๆ 

      ในกรณีนั้น กฏ 25 เปอร์เซ็นต์จะเป็นเกณฑ์ที่นำมาใช้  เพราะให้ค่าความเปลี่ยนแปลงเพียง 2.5% ซึ่งน้อยกว่ากฏ 5 เปอร์เซ็นต์ที่ให้ค่าความเปลี่ยนแปลง 5%   แต่หากมีการจัดสรรทรัพย์สินอยู่ที่ 50% แทนที่จะเป็น 10% แล้ว กฏ 5/25 เปอร์เซ็นต์  ก็จะให้ผลดังนี้ กฏ 5 เปอร์เซ็นต์จะให้ค่าการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 5% และให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 45% - 55% ส่วนกฏ 25 เปอร์เซ็นต์จะให้ค่าการเปลี่ยนแปลง 25% คูณ 50% เท่ากับ 12.5% และทำให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 37.5% - 62.5% ดังนั้นในกรณีนี้  กฏ 5 เปอร์เซ็นต์จะให้ค่าความเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 5% ซึ่งน้อยกว่า จึงเลือกใช้กฏ 5 เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์  และหามูลค่าทรัพย์สินยังอยู่ในช่วง 45% - 55% ก็ไม่ต้องปรับสมดุลใดๆ  

     ขณะที่การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนควรทำบนพื้นฐานความเสี่ยง (ตามที่แสดงไว้ข้างต้น) ไม่ใช่ปรับสมดุลตามระยะเวลาปฏิทินเท่านั้น  ถ้าคุณกำลังปรับสมดุลด้วยตัวคุณเอง  คุณควรพยายามทำให้ง่ายเข้าไว้และใช้กฏ 5/25 เปอร์เซ็นต์  อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะทำทุกไตรมาส  คุณควรมั่นใจว่ากฏที่คุณใช้นั้นครอบคลุมได้ทั้ง 3 ระดับคือ
  • ระดับกว้างซึ่งหมายถึง  หุ้นและตราสารหนี้
  • ระดับของประเภทสินทรัพย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ระดับแคบลงมาถึงสินทรัพย์แต่ละประเภท ( เช่น  ตลาดเกิดใหม่ อสังหาริมทรัพย์  หุ้นขนาดเล็ก หุ้นเน้นคุณค่า และอื่นๆ )
    ตัวอย่างเช่น  สมมติว่าคุณมีหุ้นอยู่ 6 ประเภท  แต่ละประเภทได้รับการจัดสรรลงทุนที่ 10% ซึ่งจะทำให้การจัดสรรเงินลงทุนไปยังหุ้นมีสัดส่วนอยู่ที่ 60%  ถ้าหุ้นแต่ละประเภทราคาเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนในพอร์ตการลงทุนเป็น 11% ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน ถ้าหากคุณพิจารณาเฉพาะประเภทของสินทรัพย์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น (กฏ 5 เปอร์เซ็นต์ให้ช่วง 5%-15% และกฏ 25 เปอร์เซ็นต์ให้ช่วง 7.5% - 12.5% ทั้งสองกฏจึงไม่ต้องนำมาใช้ )

    อย่างไรก็ตาม  หากพิจารณาในมุมมองที่กว้างขึ้น  การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพราะเหตุว่าหากหุ้นทั้ง 6 ประเภท  แต่ละประเภทเพิ่มขึ้นเป็น 11% ของพอร์ตการลงทุน  สินทรัพย์ประเภทหุ้นจะมีสัดส่วนรวมกัน 66% การเพิ่มชึ้นจาก 60% ไปเป็น 66% ก็ทำให้ต้องใช้กฏ 5/25 เปอร์เซ็นต์  เพราะกฏ 5 เปอร์เซ็นต์จะให้ช่วง 55%-65% ส่วนกฏ 25 เปอร์เซ็นต์จะให้ช่วง 45%-75%  ดังนั้นกรณีนี้  กฏ 5 เปอร์เซ็นต์จะต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์เพราะมีค่าน้อยกว่า  และเมื่อมูลค่าสินทรัพย์ไปอยู่ที่ 66% แล้วก็จะเกินช่วงกฏ 5 เปอร์เซ็นต์ข้างต้น  ทำให้ต้องมีการปรับสมดุลในกรณีนี้

    สถาณการณ์ที่กลับกันอาจจะเกิดขึ้นเมื่อพิจารณาสินทรัพย์โดยภาพรวมอีกครั้งหนึ่งที่กฏ 5/25 เปอร์เซ็นต์อาจจะใช้เป็นแนวทางหนึ่งในการพิจารณาได้  ซึ่งคุณอาจจะสร้างแนวทางในการปรับสมดุลเพื่อลดความเสี่ยงด้วยตัวคุณเอง  และระเบียบวินัยของกฏที่ใช้จะมีความสำคัญกว่าจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่คุณกำหนดลงไปอีกด้วย