Thursday, October 16, 2014

ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน

Prepaid Expenses/Other Current Assets
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า / สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ
งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)

       เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
       สินค้าคงคลัง
      ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
Ò ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า



$4,208
2,220
3,317
2,260
Ò สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ – รวม                                        0
      รวม สินทรัพย์หมุนเวียน
$12,005











      

ในบางครั้งบริษัทจะชำระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้าสำหรับสิ่งที่จะได้รับอันอนาคตที่ใกล้ แม้ว่าจะยังไม่ได้ครอบครองสินค้าหรือได้รับประโยชน์จากการบริการที่ซื้อก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่ได้รับสินค้าหรือบริการแต่บริษัทก็ได้ชำระเงินล่วงหน้า ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสินทรัพย์ของบริษัท และถูกบันทึกในหมวด สินทรัพย์หมุนเวียนเป็น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ตัวอย่างหนึ่งคือ เบี้ยประกันภัยสำหรับปีที่จะมาถึงซึ่งชำระไปแล้วล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าไม่ได้บอกอะไรมากถึงธรรมชาติของธุรกิจ หรือการที่บริษัทจะได้รับประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่
                สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ คือสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด ซึ่งแม้จะครบกำหนดภายใน 1 ปี แต่ขณะนี้ยังไม่อยู่ในมือของบริษัท รายการเหล่านี้ เช่น ภาษีคืนที่ยังไม่ได้บันทึกบัญชี ซึ่งมีกำหนดได้รับภายใน 1 ปี แต่ยังไม่ฝช่เป็นเงินสดในมือ ณ ขณะนั้น เป็นต้น


Total Current Assets and The Current Ratio
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)

       เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
       สินค้าคงคลัง
      ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
      ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า



$4,208
2,220
3,317
2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ – รวม                                          0
Ò รวม สินทรัพย์หมุนเวียน
$12,005











      

 เป็นเวลานานมาแล้วที่ยอด รวมสินทรัพย์หมุนเวียน คือตัวเลขที่มีบทบาทสำคัญสำหรับการวิเคราะห์การเงิน นักวิเคราะห์มักจะเถียงกันว่า การหักหนี้สินหมุนเวียนของบริษัทออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน จะทำให้พวกเขาได้ไอเดียว่า บริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นที่ผูกพันอยู่หรือไม่ และได้พัฒนา อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (current ratio) ซึ่งมาจากการนำ สินทรัพย์หมุนเวียน มาหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน ยิ่งได้อัตราส่วนสูงเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องมากเท่านั้น อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 จัดว่าดี และอะไรที่ต่ำกว่า 1 จัดว่าแย่ เพราะเชื่อกันว่าหากต่ำกว่า 1 บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้สินระยะสั้นให้กับเจ้าหนี้ของบริษัทได้
                สิ่งที่น่าขันเกี่ยวกับหลายบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนคือ บ่อยครั้งที่อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทเหล่านี้จะอยู่ต่ำกว่าตัวเลขอัศจรรย์คือ 1 โดยตัวเลขของมูดี้ส์อยู่ที่ .64 โคคา-โคล่าที่ .95 พร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล ที่.82 ,และอันฮอยเซอร์-บุช ที่.88 ซึ่งตามมุมมองของนักวิเคราะห์สมัยเก่าหมายความว่า บริษัทเหล่านี้อาจมีปัญหาในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของบริษัท ความจริงก็คือบริษัทเหล่านี้มีอำนาจในการทำกำไรที่แข็งแกร่งมากจนทำให้พวกเขาสามารถชำระหนี้สินหมุนเวียนได้อย่างสบาย นอกจากนี้ ผลจากความสามารถในการทำกำไรมหาศาล บริษัทเหล่านี้ยังไม่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์จากตลาดตราสารระยะสั้นในราคาถูกหากพวกเขาต้องการเงินสดระยะสั้นด้วย
                จากความสามารถเยี่ยมยอดในการทำกำไร บริษัทเหล่านี้ยังสามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงและซื้อหุ้นคืนทั้ง 2 อย่างจะช่วยลดเงินสดสำรอง ซึ่งจะดึงอัตราเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทให้อยู่ต่ำกว่า 1 อย่างไรก็ตามอำนาจในการทำกำไรที่สม่ำเสมอซึ่งมาควบคู่กับความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนนี่เอง ที่จะเป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัทสามารถชำระหนี้สินหมุนเวียนได้ และไม่ตกเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในวัฏจักรของธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจถดถอย

                สรุปก็คือ มีหลายบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน ซางมีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 และบริษัทเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขอัตราเงินทุนหมุนเวียนแทบจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ในการบ่งชี้ว่า บริษัทใดมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่