Friday, October 17, 2014

เทคนิคการลงทุน VI สไตล์มนุษย์เงินเดือน

     

       คนเราอยู่ในยุคที่ได้รับพระพรมากขึ้นๆ ชีวิตของมนุษย์เรายืนยาวกว่าแต่ก่อน ต่อจากนี้ไป... เราทุกคนน่าจะคิดได้ว่า เราต้องทำเงิน 1 ปี เพื่อใช้ 2 ปี

     ทำไมหรือ ? ก็คนเรามีวัยทำงานในช่วง 20 - 60 ปี คือ 40 ปี ถ้าเรามีชีวิตอยู่ถึง 80 ปี เท่ากับว่า เราทำงาน 40 ปี ใช้ 80 ปี แน่นอน... ในช่วง 20 ปีแรก มักเป็นช่วงของการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งพ่อแม่เป็นผู้ดูแลเรา แต่โดยสมดุลของสังคม ดดยเฉลี่ยแล้วเราก็น่าจะดูแลลูกหรือหลานให้ได้การศึกษาเพื่ออนาคตเช่นกัน สรุปแล้วใช้ตัวเลขได้ง่ายๆ ว่า ทำงาน 40 ปี ใช้ 80 ปี

      เริ่มขึ้นมาถึง หลายๆ คนอาจรู้สึกว่า แค่หาเช้ากินค่ำ ใช้เงินให้พอเดือนชนเดือนก็เหนื่อยจะแย่อยู่แล้ว ยังต้องทำมากกว่านั้นเป็นเท่าตัวอีกหรือ? ทำไมชีวิตเราจึงทุกข์นัก ต้องมีภาระหาเงินทองกันมากมายแทบจะตลอดชีวิต

      ชาวคริสเตียน อาจอยากชวนคิดให้เราเห็นชีวิตเช่นนี้ด้วยความ "ขอบคุณพระเจ้า" เสมอ ตั้แต่แรกพระเข้าทรงสร้างโลก ทรงสร้าง อาดัมกับเอวา ก็ไม่ใช่สร้างมาให้เป็นตุ๊กตา แต่ได้มอบหมายให้ดูแลสวน พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งมาอย่างดี เราแต่ละคน พระองค์ทรงสร้างอย่างเจาะจง เพียง "หนี่งเดียวในโลก" จึงทรงสร้างอย่างมีความหมาย

      ชีวิตที่ดี ควรจะต้องไม่มีหน้าที่การงาน อันเป็นชีวิตที่ไร้ค่า อยู่เพียงเพื่อ "กินที่" ในโลกเท่านั้น จริงๆ หรือ? หรือชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีคุณค่าต่อโลกใบนี้ หน้าที่การงานของเรา ได้รับงานที่เราถนัด ล้วนแต่เป็นพระพรอันน่ายินดีของชีวิต

       เรื่องแรกของมนุษย์เงินเดือนที่สำคัญที่สุด คือ "ขอบคุณพระเจ้า" กับหน้าที่การงาน ภารกิจที่ได้ทำ ลูกค้าที่เราได้มีโอกาสให้บริการ ฯลฯ ทำให้มีชีวิตที่มีความหมายในโลกงดงามใบนี้

       เรื่องถัดมา คือ การรู้ตัวว่า เรากำลังดูแลชีวิตของตัวเราเอง และบางคนที่เรารัก เราจึงต้องรู้จัก "ออมและลงทุน" อย่างชาญฉลาด เพื่อให้เงิน ทำงานให้เราบ้าง มีหลายประเด็นที่จะพอสรุปได้เกี่ยวกับการ "ออมและลงทุน" ดังนี้

1. ออมก่อนใช้ : เราส่วนใหญ่ เคยได้รับคำสอนจากพ่อแม่ และผู้ใหญ่มาเป็นอย่างดีว่า

- ใช้ประหยัดนะลูก.... เหลือก็รู้จักเก็บออมเอาไว้
- ใช้ประหยัดนะลูก.... มีเงินเก็บจะได้มีอนาคตที่ไม่ลำบาก

แต่ปัญหาของหลายๆ คน คือ
- ใช้แล้วไม่เห็นเหลือเลย
- ขนาดประหยัดแล้วนะเนี่ย
- ก็ของมันแพงขึ้น ฯลฯ
แต่โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะอธิบายว่าอย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ "ใช้ก่อนแล้วจึงคิดออม" แต่ถ้าจะวางแผนอย่างดี ผมแนะนำว่า "ออมก่อนแล้วจึงคิดใช้" จึงจะทำให้มีเงินออม ทุกเดือนๆ จริงๆ

2. ลงหุ้นมากๆ ถ้ามีเวลาลงทุนเกิน 10 ปี จากตัวอย่างข้อมูลเปรียบเทียบการลงทุน ตั้งแต่ปลายปี 1998-2012 มีผลดังตารางที่ 1 มีข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการดังนี้

      2.1 ข้อมูล 12 ปีนั้น เป็นข้อมุลจริง และเป็นธรรม มีปีดีกับปีไม่ดี ผสมผสานสลับกันไป มีถึง 2 ปีที่ตลาดหุ้นตกกว่า 40% ซึ่งเลวร้ายมาก เพราะท่านผู้อ่านลองนึกดู

 - ถ้าหุ้นลง 50% แล้วขึ้น 50% จากตอนต้น 100 ตก 50% เหลือ 50 (คิดจาก 100 - 50% ของ 100) เมื่อบวก 50% จะได้เพียง 75% (คิดจาก 50 + 50% ของฐานใหม่ 50)

- ถ้าหุ้นลง 50% แล้วขึ้น 50% จากตอนต้น 100 ตก 50% เหลือ 50 (คิดจาก 100 - 50% ของ 100) เมื่อบวก 50% จึงจะได้ 100 (คิดจาก 50 + 100% ของฐานใหม่ 50) กลับมาเท่าเดิม




          2.2 ผลของปีดี และไม่ดีผสมกัน ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้น (Avg. Return) ในระยะ 10 - 12 ปี ยังเห็นค่อนข้างสม่ำเสมอ ประมาณ 12 - 13% (ตามข้อมูลในช่อง d12 - d14) อัตรานี้ สอดคล้องกันในแทบทุกตลาดหุ้นทั่วโลก

        2.3 หลายคนที่เคยรู้สึกว่าลงหุ้นแล้วเสี่ยง แต่ถ้าเทียบกันตามตารางนี้ จะเห็นว่าถ้าเราเริ่มต้นด้วยเงิน 100 บาท ลงทุน ณ สิ้นปี 1998 (คอลลัมน์ C) ในพันธบัตร (คอลัมน์ E) หรือในเงินฝากธนาคาร (คอลัมน์ F) จะมีมูลค่าสิ้นสุด 549 บาท 219 บาท และ 142 บาทตามลำดับ

        แปลว่า ถ้าเราเริ่มด้วยเงิน 1 ล้านบาท การลงทุนหุ้น จะได้มูลค่าสิ้นสุดปีที่ 12 จำนวน 5.94 ล้านบาท แต่ถ้าลงพันธบัตร จะได้ 2.19 ล้านบาท และลงเงินฝากธนาคารจะได้เพียง 1.42 ล้านบาท เงินอาจจะหายไปร่วม 3.5 ล้านบาท!! เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นได้

         3. ลงทุนเวลานาน เพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ จะเสี่ยงน้อยลง หลายคนอาจจะเข็ดจากการ "เล่นหุ้น" ลงแล้วเจ็บ เจ็บแล้วถอย ส่วนใหญ่เป็นเพราะ มักจะเข้าลงทุนแบบ
รอหุ้นขึ้นมากๆ จนมั่นใจแล้วค่อยเข้า
ถือหุ้นเวลาเน่าๆ จนเศร้าใจ แล้วค่อยขาย

ทำให้มักจะ "เข้าซื้อตอนแพง" คือ ขึ้นมามากแล้ว และ "ออกจากหุ้นตอนถูก" คือ อารมณ์ทนไม่ไหวแล้ว ซึ่งขัดกับ คาถาการลงทุนให้ประสบความเสำเร็จว่า "ซื้อถูก...ขายแพง" แต่นัดเก็งกำไรหน้าใหม่ มักจะเป็น "ซื้อแพง...ขายถูก"

วิธีหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหา คือ ลงทุนนานๆ นับ 10 ปี ผมลองยกตัวอย่างเทียบกับการทอดลูกเต๋า การลงทุน 1 ปี เปรียบเหมือนทอดลุกเต๋าลูกเดียว

6 คือ โชคดี
1 คือ โชคไม่ดี

          ทอดลูกเดียวก็มีโอกาสขึ้น 6 ก็ได้ 1 ก็ได้ พอๆ กัน แต่ถ้าเราทอด 10 ลูก แล้วเอามาหาค่าเฉลี่ยก่อนค่าเฉลี่ยนั้น ก็คงไม่ใช่ 6 หรือ 1 แต่คงเดาออกว่า น่าจะอยู่แถว 3 หรือ 4 มากกว่า เสมือนการลงทุน 10 ปี ผลตอบแทน "เฉลี่ย" จะมั่นคง มีเสถียรภาพ ไม่แกว่างมากเหมือนลงทุนสั้นๆ

       4. ลงทุนกระจายความเสี่ยง อาจเป็นการลงทุนใน "กองทุนหุ้น" ถ้าเราลงหุ้นใดหุ้นเดียว หุ้นนั้น อาจมีวันที่ดี และวันที่ไม่ดี เช่น แม้แต่หุ้นธนาคารใหญ่ๆ เช่น Lehman Brother ก็ยังเจ๊งได้ หุ้นกิจการอย่าง Kodak ผุ้นำฟิล์ม ก้ล้มละลายได้เช่นกัน เราจึงควรเรียนรู้ที่จะลงทุนกระจายความเสี่ยง เช่นการลงทุนผ่านกองทุน ซึ่งจัดการโดย บจล. ต่างๆ หรืออาจลงทุนกองทุนดัชนี เช่น TDEX ซึ่งลงหุ้นตาม SET50 Index คือ เฉลี่ยในหุ้น 50 หุ้นที่ถือว่าดีที่สุดในตลาดฯ หรือ กองทุนจัมโบ้ 25 ของ บจล.ทหารไทย ก็ลงทุนในหุ้นประมาณ 25 หุ้นในตลาดหุ้นไทย

      5. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รัฐบาลได้ให้ประโยชน์ภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนระยะยาวมากทุกๆ รัฐบาลโดยให้ประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF หรือ กองทุน LTF ประเภทหุ้นก็ดีนอกจากได้ผลตอบแทนหุ้นที่กล่าวมาแล้ว ยังช่วยประหยัดภาษีด้วยอย่างมาก

       6.ลงทุนด้วย "เงินสม่ำเสมอ" ทุกเดือน แทนที่จะลงทุน "เดือนละ 300 หน่วย" อาจลงทุน "เดือนละ 3000 บาท" เพราะ อีกเคล็ดลับหนึ่งของความสำเร็จคือ การใช้เงินลงทุนเท่ากัน ในแต่ละรอบที่ลงทุนสะสม เพราะหลักทรัพย์มีราคาขึ้นสูง ลงต่ำ เช่น TDEX ตอนตลาดดีๆ เคยมีราคาถึง 10 บาท และตอนตลาดต่ำกว่านี้ เคยอยู่ที่ 5 บาท

ตอนหลักทรัพย์แพง คือ 10 บาท เงิน 3,000 บาท จะซื้อได้ 300 หน่วย
ตอนหลักทรัพย์ถูก คือ 5 บาท เงิน 3,000 บาท จะซื้อได้ 600 หน่วย

        จะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ "เงินสม่ำเสมอ" ทำให้ได้ "หุ้นถูก" มากกว่า "หุ้นแพง" ต้นทุนเฉลี่ยนก็จะถูกกว่าและช่วยให้การลงทุนในได้ผลตอบแทนดีขึ้น

          ก็หวังว่า จะเป็นข้อแนะนำ กลยุทธการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับ "มนุษย์เงินเดือน" ในฐานะ "มนุษย์เงินเดือน" มานานกว่า 10 ปีคับ ถ้าใครลงสูตรนี้ด้วยเงินซักเดือนละ 3,000 บาท ตั้งแต่อายุประมาณ 25-30 ปี น่าจะมีเงินตอนเกษียณอย่างน้อยๆ 10 ล้านบาททีเดียวคับ รับรองได้