Thursday, February 27, 2014

การลงทุนแบบ VI หุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นเติบโต (Growth Stock)

 

        เชื่อว่า...  นักลงทุนหลายท่ามีผู้ลงทุนที่เป็นต้นแบบ  ไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่าทั้งในหรือต่างประเทศ  ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนอันน่าประทับใจในระยะยาว  หรือผู้ลงทุนที่เน้นหุ้นเติบโต  ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงเวลาที่ทายได้อย่างรวดเร็ว  ผู้ลงทุนมือใหม่ทั้งหลายอาจตั้งคำถามว่า..."หุ้นคุณค่า" และ "หุ้นเติบโต" เป็นสไตล์หุ้นบนทางสองแพร่งที่ต้องเลือกเพียงทางใดทางหนึ่ง  หรือสามารถลงทุนแบบผสมผสานกันได้  ก่อนที่จะไขข้อข้องใจนี้  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจคุณลักษณะทั่วไปของหุ้นทั้ง 2 ประเภทนี้ก่อน

         การแบ่งประเภทหุ้นตามสไตล์ข้างต้น  อีกนัยหนึ่งถือเป็น การแบ่งประเภทหุ้นตามการเปรียบเทียบเครื่องชี้ความถูกแพงของราคาหุ้นค่อความคาดหวังในอัตราการเติบโตของกิจการ ทั้งนี้ ลักษณะสำคัญและความเสี่ยงของหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโต   สามารถสรุปได้ตามตารางด้านล่างนี้

   


         ข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ การแบ่งประเภทหุ้นตามสไตล์จะไม่ใช้ราคาหุ้น เช่น หุ้น A ราคาหุ้นละ 10 บาท หุ้น B ราคาหุ้นละ 25 บาท  เป็นเครื่องกำหนดว่าหุ้น A มีราคาถูกกว่าหุ้น B แต่จะ เปรียบเทียบเครื่องชี้ความถูกแพงของราคาหุ้นต่อความคาดหวังในอัตราการเติบโตของกิจการ  เช่น อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) หรืออัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (P/BV Ration) ดังแสดงไว้ในตารางด้านบน โดย "หุ้นเติบโต"  มักมีค่า P/E Ratio และ/หรือ P/BV Ratio สูงกว่า "หุ้นคุณค่า" อย่างไรก็ตาม การเลือกสรรหุ้นเพื่อการลงทุนโดยพิจารณาเพียงเครื่องชี้ประเภทเดียว เช่น P/E Ratio จะมีความเสี่ยง ผู้ลงทนสถาบันส่วนใหญ่ทั้งที่เน้นหุ้นคุณค่าหรือหุ้นเติบโตต่างอ้างอิงการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเปรียบเทียบเครื่องชี้หลายประเภทเป็นหลักสำคัญในการลงทุน

1  หุ้นคุณค่า (Value Stock)

        ในเกณฑ์เบื้องต้น "หุ้นคุณค่า" มักมีค่า P/E Ratio หรือ P/BV Ratio ต่ำบ่งบอกว่าเป็นหุ้นราคาถูก  เพราะผู้ลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดละเลยหุ้นประเภทนี้  เนื่องจากกิจการถูกปรคลุมด้วยข่าวในเชิงลบเกี่ยวกับผลประกอบการ หรือการบริหารจัดการ ทำให้เกิดการคาดการณืว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นช้าหรือลดลง ซึ่งก่อนการลงทุนผู้ลงทุนต้องวิเคราะห์ให้แน่ใจว่าแท้จริงแล้วกิจการยังมีศักยภาพที่ดี เพื่อสนับสนุนสมมติฐานว่าเป็นหุ้นที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ เมื่อผู้ลงทุนเข้าสะสมหุ้น ณ ราคานั้น" จะมี "ส่วนเผื่อความปลอดภัย" (Margin of Safety) ในการลงทุนสูง คือ หากราคาจะลดลงต่อ  ก็ไม่ควรลดลงมาก อย่างไรก็ตาม  คุณค่าที่แท้จริงจะปรากฏเมื่อสถานการณืนั้นคลี่คลายลง และปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของกิจการเริ่มแสดงตนผ่านการทยอยฝ้นตัวของผลประกอบการความสำเร็จของการลงทุนในหุ้นคุณค่าจึงขึ้นอยู่กับว่า
  • กิจการจะสามารถพลิกฟื้นขึ้นได้จริงหรือ
  • การลดลงของราคาตลาดเป็นเพียงชั่วคราวตามที่คิดการณ์ไว้หรือไม่ และต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด
         ความจริงข้อหนึ่ง คือ การลงทุนที่รอคอยเป็นเวลานาน อาจทำให้ผู้ลงทุนขาดความมั่นใจในผลการวิเคราะห์   หรือแรงกดดันที่ต้องสร้างผลตอบแทน ที่แข่งขันได้ในกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันด้วยกัน อาจไม่เอื้อให้ผู้ลงทุนรอบการฟื้นตัวของราคาตลาดของหุ้นคุณค่าในระยะเวลานานๆ ได้

         ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นคุณค่าเข้าพอร์ตจำนวนหนึ่ง  เวลาผ่านไป 1 ปี ยังไม่มีสัญญานว่าราคาตลาดของหุ้นคุณค่าจะเพิ่มขึ้น  ขณะเดียวกันกองทุนของคู่แข่งที่เน้นหุ้นเติบโต  ราคาตลาดของหุ้นกลับตอบสนองอย่างรวดเร็วทำให้กองทุนที่เน้นหุ้นคุณค่ามีผลตอบแทนน้อยกว่าคู่แข่งเป็นระยะเวลานานจนผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งคำถามหรือพากันสับเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนอื่น  ผู้จัดการกองทุนที่เน้นหุ้นคุณค่าก็อาจต้องเปลี่ยนสไตล์ของหุ้นเพื่อรองรับความท้าทายนี้ในช่วงเวลาก่อนที่คุณค่าของหุ้นที่เลือกไว้จะแสดงผล

         สถานการณ์เช่นนี้  สามารถแก้ไขได้โดยการตั้งชื่อกองทุนและระบุนโยบายการลงทุนให้ชัดเจน  พร้อมสื่อความให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบว่า  กองทุนนี้ไม่ใช่กองทุนตราสารทุนทั่วไป  แต่เน้นลงทุนในหุ้นคุณค่า เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความเข้าใจและความคาดหวังที่ถูกต้องต่อระยะเวลาลงทุนและลักษณะผลตอบแทนของกองทุน


2 หุ้นเติบโต (Growth Stock)

            "หุ้นเติบโต" (Growth Stock) มักเป็นหุ้นที่เครื่องชี้มูลค่าหุ้นบ่งบอกว่าเป็นหุ้นราคาสูงส่วนใหญ่เป็นหุ้นของกิจการที่คาดว่าจะสร้างการเติบโตอย่างโดดเด่นในสินทรัพย์รายได้ และกำไร  ผู้ลงทุนพร้อมเข้าซื้อในราคาสูง  เพราะเชื่อว่าการขยายตัวของกิจการจำทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้อีกมากในอนาคต  ในบางครั้งเกิดเป็นปรากฏการณ์ "ราคายิ่งสูง  ยิ่งขึ้นต่อ"

              ข้อพึงระวังในการลงทุนหุ้นเติบโต  คือ  ซื้อในราคาสูง  ไม่ใช่ราคาแพง  ราคาสูงเพราะคาดหวังการเติบโต  แต่ต้องเป็นราคาที่เหมาะสม  จึงเป้นที่มาของคาถาประจำตัวผู้ลงทุนหุ้นเติบโต คือ "Growth at a Reasonable Price (GARP)"  ความสำเร็จของการลงทุนในหุ้นเติบโตขึ้นอยู่กับความสามารถในการเลือกหุ้นของกิจการที่จะมีการขยายตัวได้เท่ากับหรือสูงกว่าอัตราที่คาดหวัง

             ศักยภาพ  คือ  สาเหตุของความเสี่ยงที่สำคัญ  หากผลประกอบการไม่เติบโตเท่าที่คาด (Below Expectation) ผู้ลงทุนที่เคยซื้อหุ้นในราคาสูง  เมื่อผิดหวังจะปรับลดราคาเป้าหมาย  และอาจทำให้เกิดแรงเทขายจนส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว

             ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนซื้อหุ้นโดยให้ราคาเทียบเท่า P/E Ratio ที่ 18 เท่า สูงกว่า P/E Ratio ของตลาดและหุ้นในหมวดธุรกิจเดียวกันที่ 11 เท่า และ 15 เท่า  ตามลำดับ  เพราะคาดว่ากำไรจะขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 20 แต่เมื่อกิจการประกาศผลประกอบการประจำปีที่กำไรขยายตัวได้ร้อยละ 15 ราคาหุ้นกลับตอบรับด้วยการปรับลดลงในทันที

            เนื่องจากหุ้นเติบโตมีราคาสูงและจ่างเงินปันผลต่ำ  ผู้ลงทุนจึงควรติดตามปัจจัยที่สร้างการเติบโตและตรวจสอบอัตราการเติบโตที่แท้จริงว่าต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพหรือไม่
  • หากเติบโตด้วยสิทธิบัตร ( Patents ) หรือลิขสิทธิ์ ( Copyrights ) ในที่สุดจะถึงวันหมดอายุ
  • หากเติบโตจากการผูกขาดธุรกิจ ( Monopoly ) อาจพบข้อห้ามการผูกขาดจากภาครัฐ
  • ช่วงการเติบโตในวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) อาจเป็นระยะเวลาสั้น  หรือหมดลง
  • การขยายตัวอย่างมากของยอดขายและกำไร  จะเป็นแรงจูงใจให้คู่แข่งเข้ามามากขึ้น  และอัตรากำไรลดลง
             นอกจากนี้  ผู้ลงทุนควรตั้งคำถามในเชิงคุณภาพเพิ่มเติมเกี่ยวกับหุ้นเติบโต เช่น
  • กิจการมีสินค้าหรือบริการที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่  ถ้ามี จะทำให้กิจการมีอำนาจกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ  และความสำเร็จของธุรกิจในอนาคตอันใกล้
  • กิจการมีแผนนำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ๆ สู่ตลาดในเร็วๆ นี้หรือไม่ ถ้ามี  จะส่งเสริมโอกาสสร้างรายได้และกำไรที่เพิ่มพูนขึ้น
  • กิจการมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) หรือไม่ ถ้ามี จะช่วยสร้างมูลค่าได้ในระยะยาว เช่น มีตราสินค้า (Brand Name) เป็นที่ยอมรับ  มีความภักดีของลูกค้า  ฝ่ายบริหารเข้มแข็งและมีความสามารถ  ทำเลที่ตั้งโดดเด่น  กระบวนการผลิตมีประสิทธ์ภาพ และต้นทุนต่ำ เป็นต้น
  • กิจการมีสิทธบัตร  หรือการผูกขาดธุรกิจ หรือการปกป้องจากการเข้ามาของคู่แข่งหรือไม่ ถ้ามี จะช่วยป้องกันกิจการจากการแข่งขันได้ในระยะสั้น  ทำให้กิจการมีอำนาจในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ  หรือริเริ่มกิจกรรมเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขัน (Head Start) เหนือคู่แข่ง อย่างไรก้ตาม กิจการต้องเตรียมพร้อมกลยุทธ์ที่จะสร้างการเติบโตต่อเมื่ออภิสิทธ์เหล่านี้ครบอายุลง  
         เมื่อได้ทราบนิยาม  ลักษณะสำคัญ และความเสี่ยง รวมทั้งปัจจัยสู่ความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นแต่ละสไตล์กันแล้ว  มาดูสถิติอัตราผลตอบแทนรวมระยะยาวของหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตกันบ้าง  ในที่นี้เราใช้  "ดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 1000 Value" ซึ่งสะท้อนผลตอบแทนรวมของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี ( P/BV Ratio ) และความคาดหวังต่ออัตราการเติบโตของกำไรต่ำ  เป็นตัวแทนของหุ้นคุณค่า และ "ดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 1000 Growth" ซึ่งสะท้อนผลตอบแทนรวมของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ  ที่มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio) และความคาดหวังต่ออัตราการเติบโตของกำไรสูง  เป็นตัวแทนของหุ้นเติบโต  โดยมี "ดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 3000" ซึ่งสะท้อนผลตอบแทนรวมของหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ จำนวน 3,000 หลักทรัพย์ครอบคลุมประมาณร้อยละ 98 ของหุ้นทั้งหมดในตลาด เป็นตัวแทนของตลาดโดยรวม  จากรูปที่ 10 พบว่า  หุ่นคุณค่าสร้างผลตอบแทนรวมที่ดีกว่าหุ้นเติบโตในช่วงระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมา ( ปี พ.ศ. 2523 - 2555 )

  
           

         
            สถิติผลตอบแทนรวมของหุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตข้างต้น  อาจทำให้ผู้ลงทุนที่เน้นหุ้นเติบโตลังเลใจว่า  หุ้นที่เลือกซื้อในช่วง "ยิ่งสูง  ยิ่งขึ้น" หรือจะเป็น "ยิ่งขึ้น  ยิ่งแพง"  จึงทำให้ผลตอบแทนรวมในระยะยาวน้อยกว่าหุ้นคุณค่าผู้ลงทุนสามารถศึกษาพฤติกรรมราคาหุ้นเพิ่มเติมโดยการแบ่งระยะเวลาลงทุนเป็นช่วงๆ ดังนี้

           
              ช่วงที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2538 - 2542 ( ค.ศ. 1995-1999 )  ดังแสดงในรูปที่ 11 ในช่วงรุ่งเรืองของเศรษฐกิจสหรัฐฯ  ที่ได้รับอานิสงส์มาจากการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของผลผลิต  ตลอดจนกำไรในภาคอุตสาหกรรมในช่วงก่อนหน้า คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 - 2538 ( ค.ศ. 1985-1995 ) แม้ผลประกอบการที่แท้จริงในช่วงนี้จะเริ่มชะละลง  แต่ราคาตราสารการเงินต่างๆ รวมทั้งหุ้นยังคงเป็นขาขึ้นสอดคล้องกับการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น  ความมั่งคั่งที่พอกพูนขึ้น ( Wealth Effect ) จากการเพิ่มขึ้นของราคาห้น  ทำให้ภาคการผลิตซึ่งเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจที่แท้จริงถูกละเลย  ผู้ลงทุนและนักธุรกิจใช้ความั่งคั่งที่ได้รับจากตลาดหุ้นมาเพิ่มการลงทุนในตลาดทุนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งภายใต้วงจรเศรษฐกิจ ( Business Cycle ) ลักษณะนี้ หุ้นเติบโตจะอยู่ในความสนใจของผู้ลงทุนมากกว่าหุ้นประเภทอื่น  ราคาหุ้นเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า  สะท้อนจากดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 100 Growth ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 307 เปรียบเทียบกับดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 1000 Value ที่เพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ 182 ในช่วงเวลาเดียวกัน

          
        


           ช่วงที่ 2 คือ ช่วงเริ่มต้นของภาวะตกต่ำในตลาดหุ้นในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ. 2000) ดังแสดงในรูปที่ 12 เป็นรอยต่อระหว่าการเพิ่มของราคาหุ้นและอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ พร้อมๆ กับอัตรากำไรของกิจการชะลอลง ซึ่งในที่สุดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2543 กิจการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสื่อสารที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจเผชิญกับสถานะการณ์ที่รายได้ลดลง  กไรไม่สามารถเพิ่มขึ้นต่อไปได้  ตามมาด้วยราคาหุ้นตกต่ำ  ความมั่งคั่งที่ผู้ลงทุนสะสมไว้หายไปในเวลาอันรวดเร็ว  สถานะลงทุนเริ่มขาดทุน  ธุรกิจมีความยากลำบากในการจัดหาแหล่างเงินทุน  สุดท้ายต้องระงับแผนลงทุนหรือขยายกิจการ  ส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม

            นอกจากนี้  การยายการลงทุนมากเกินไปในช่วงก่อนหน้าที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพการสร้างกำไร  ยังคงส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในเวลาต่อมา  ทั้งเครื่องจักรและโรงงานที่สะสมหรือสร้างไว้  ไม่ได้ใช้งาน กำลังการผลิตส่วนเกินทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างล่าช้า  และถูกซ้ำเติมอีกครั้งด้วยวิกฤตสถาบันการเงินในปี  พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ซึ่งในวงจรเศรษฐกิจลักษณะนี้หุ้นเติบโตสร้างความผิดหวังให้ผู้ลงทุน  หุ้นคุณค่าที่แม้จะมีราคาตลาดลดลงตามวงจรเศรษฐกิจ  แต่ไม่หนักนาเท่าหุ้นเติบโต  เพราะมีความพร้อมด้านกระแสเงินสดและเงินปันผลรองรับ  สะท้อนจากดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 1000 Growth ที่ลดลงร้อยละ 55 เปรียบเทียบกับดัชนีผลตอบแทนรวม Russell 1000 Value ที่ลดลงเพียงร้อยละ 15 ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2545

         

      ถึงตรงนี้   นักลงทุนคงได้คำตอบแล้วว่า "หุ้นคุณค่า" และ "หุ้นเติบโต" ต่างมีช่วงเวลาที่จะแสดงผลงานแตกต่างกันไป  เพราะในแต่ละวงจรเศรษฐกิจ หุ้นทั้งสองประเภทได้รับผลกระทบและมีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของราคาไม่เหมือนกัน พอร์ตลงทุนที่ดีจึงควรผสมผสานหุ้นทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน เนื่องจากการคาดการณ์วงจรเศรษฐกิจอย่างแม่นยำทำได้ยาก  นอกจากนี้ในบางครั้งผู้ลงทุนจะพบว่าหุ้นที่เคยลงทุนในอดีตในฐานะหุ้นเติบโต  เมื่อเวลาเปลี่ยนไป  องคืประกอบต่างๆ อาจผลักดันให้หุ้นตัวเดียวกันเปลี่ยนสถานะเป็นหุ้นคุณค่าได้

 

        จากรูปที่ 13 หุ้นเติบดตอยู่ใน Matrix ที่ 3 คือ "GROWTH" เนื่องจากอัตราการเติบโตและราคาสูง  เมื่อเวลาผ่านไป  อัตราการเติบโตที่โดดเด่นกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดและอุตสาหกรรมไม่สามารถยั่งยืนถาวร  อาจด้วยสภาพการแข่งขันหรือวงจรกเศรษฐกิจทำให้อัตราการขยายตัวชะลอลง ณ ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ลดลงสะท้อนการชะลอตัวเข้าสู่ค่าเฉลี่ยของผลประกอบการ  หุ้นจะตกมาอยู่ใน Matrix ที่ 2 คือ "DOG" เนื่องจากราคาหุ้นสูงเกินกว่าศักยภาพการเติบโตของผลประกอบการในอนาคต  เมื่อผู้ลงทุนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในผลประกอบการในอนาคต เมื่อผู้งทุนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในผลประกอบการจะเกิดแรงเทขายหรือการต่อรองราคาที่จะเข้ามาสะสมหุ้น ทำให้ราคาตลาดของหุ้นลดลง จนหุ้นเข้ามาใน Matrix ที่ 1 คือ "VALUE" หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี  แต่ผู้ลงทุนยังไม่สนใจ เพราะอัตราการขยายตัวไม่ดึงดูด เข้าข่าย "การไม่เล่น ก็ไม่เล่นเลย"  ทำให้ราคาตลาดของหุ้นไม่เพิ่มขึ้นหรืออาจลดลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง  ผู้ลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่าจะเข้าสะสมหุ้นในช่วงเวลานี้ถือลงทุนและรับเงินปันผล  พร้อมทบทวนความแข็งแกร่งของปัจจัยพื้นฐานจวบจนผลประกอบการเริ่มฟื้นตัว  ปรากฏเป็นจุดสนใจของนักวิเคราะห์และผู้ลงทุนในวงกว้างว่าเป็นหุ้นดี  และราคายังถูกอยู่ หุ้นจึงเคลื่อนเข้า Matix ที่ 4 คือ "STAR" ผู้ลงทุนจะเริ่มสับเปลี่ยนจากหุ้นที่ราคาเข้าข่ายสูงเกินไปแล้วเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้  ก่อนที่จะกลัีบมาที่ Matix ที่ 3 คือ "GROWTH"  อีกครั้ง

          โดยสรุป  หุ้นเติบโตสร้างกำไรงามในภาวะที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง หุ้นคุณค่าเป็นผู้นำเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงกลางและกำลังเคลื่อนเข้าสู่การชะลอตัวหรือตกต่ำ หุ้นคุณค่าและหุ้นเติบโตผลัดกันเป็นผู้นำตลาดในแต่ละช่วงเวลา  อย่างไรก็ดีผลตอบแทนในหุ้นคุณค่ามีค่าสูงกว่าเนื่องจากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงบ่อยครั้งจากความเชื่อมโยงกันของตลาดการเงินโลก  นวัตกรรมในตราสารการเงินที่ซับซ้อน  และการขาดการควบคุมดูแลและระบบจัดการความเสี่ยงที่ดี