Tuesday, February 25, 2014

หลักปรัชญาการลงทุน 7 ประการของ VI จอห์น เนฟฟ์ ( John neff )


            กองทุน Windsor ยึดมั่นหลักปรัชญาการลงทุน 7 ประการของ  จอห์น  เนฟฟ์  เป็นรูปแบบในการลงทุน  ไม่ว่าตลาดจะขึ้น  จะลง  หรือทรงตัว  โดยหลักการลงทุนดังกล่าวจะค้นหาและเลือกลงทุนในหุ้นที่มีลักษณะดังนี้

  คุณลักษณะที่ 1 เป็นหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่ำ (P/E ต่ำ)

              จอห์น  เนฟฟ์  บอกว่าเขาชอบสมญานามที่คนอื่นตั้งให้เขา คือ เป็น "Low Price-Earning Investor" (นักลงทุนที่ชอบซื้อห้นที่มี P/E ต่ำๆ ) ซึ่ง P/E เป็นอัตราส่วนที่มาจากราคาตลาดของหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น  

             

              ผมขออธิบายเพิ่มเติมให้เห็นว่า  ทำไมในตลาดหุ้น  เราจึงควรสนใจค่า P/E

              นั่นเป็นเพราะ "ค่า P" หรือ "ราคาตลาดในปัจจุบัน" ของหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  โดยหุ้นของบริษัทจดทะเบียนแต่ละบริัษัทอาจมีราคาไม่เท่ากัน  แม้จะอยู่ในอุตสาหรกรรมเดียวกันก็ตาม  บางบริษัทอาจมีราคาต่ำกว่า 100 บาท ในขณะที่บางบริษัทอาจมีราคาตลาดอยู่ในช่วง 200-300 บาทซึ่งการที่ราคาตลาดของหุ้นแตกต่างกันอาจมาจากหลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานของบริษัทหลังเสนอขายหุ้นครั้งแรกไปแล้ว  รวมถึงระยะเวลาที่บริษัทอยู่ในตลาด  การเพิ่มทุน  หรือการแตกพาร์ต่างๆ ฯลฯ ดังนั้น การจะบอกว่าหุ้น A ที่มีราคาตลาด 30 บาท  ถูกกว่า หุ้น B ที่มีราคาตลาด 90 บาท จึงอาจจะเปรียบเทียบกันไม่ได้ในทันที

              วิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เปรียบเทียบได้ก็คือ  การทำให้ราคาตลาดของทั้ง 2 หุ้นอยู่ในหน่วยเดียวกัน  โดยนำเอา "ราคาตลาดมาหารด้วยกำไรต่อหุ้น" เมื่อทั้ง 2 หุ้นอยู่ในหน่วยเดียวกันแล้วจึงจะสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ โดย P/E จะอธิบายว่า  ราคาตลาดคิดเป็นกี่เท่าของกำไร

             ตัวอย่างเช่น  หุ้น A มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท  และหุ้น B มีกำไรต่อหุ้น 6 บาท

             

             กล่าวคือ  เมื่อเทียบต่อ 1 หน่วยกำไรแล้ว  ราคาตลาดของหุ้น A คิดเป็น 30 เท่าของกำไร  และราคาตลาดของหุ้น B คิดเป็น 15 เท่าของกำไร  สรุปว่า หุ้น B มีราคาถูกกว่า

             จอห์น  เนฟฟ์ ได้ให้แนวคิดในการดูค่า P/E อย่างง่ายๆ โดยยกตัวอย่างว่าเวลาเราเดินเข้าไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต  และต้องการซื้อคุกกี้  แต่มีคุกกี้อยู่ 2 ยี่ห้อ แต่ละย่ห้อมีราคาและน้ำหนักแตกต่างกัน  แนวทางหนึ่งในการเลือก  คือดูราคาต่อปอนด์  ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้ ค่า P/E Ratio ก็เช่นกัน  ถือเป็นเกณฑ์เบื้องต้นที่จะหาของราคาถูก  แต่ของจะดีหรือไม่  เราต้องใช้เกณฑ์คัดเลือกอื่นๆ ในการวิเคราะห์ต่อไป

            นอกจากนี้  การคำนวณค่า P/E ยังแบ่งออกเป็น

           

           การค้นหาว่าหุ้นนั้นๆ  เป็นหุ้นราคาถูกหรือไม่  จะต้องเทียบดูว่าราคาตลาดมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกำไรในอดีตและต่อกำไรในอนาคตอย่างไร  ถ้า P/E ต่ำ  แสดงว่าราคาตอบสนองต่อกำไรน้อย

           จอห์น  เนฟฟ์  ให้ข้อสังเกตุว่า  ในขณะที่ตลาดเป็นขาขึ้น  ราคาหุ้นกำลังร้อนแรงและพุ่งขึ้น  จะทำให้หุ้นที่กำลังเป็นที่นิยมในตลาด  มีค่า P/E สูงขึ้นเรื่อยๆ (จากผลของค่า P ที่สูงขึ้น)  แต่กองทุน Windsor จะทำในทางตรงกันข้าม คือ จะค้นหาหุ้นที่ถูกมองข้าม  ไม่เป็นที่นิยมของตลาด  หรือหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ  และเมื่อประกอบกับการวิเคราะห์อื่นๆ จะทำให้สามารถค้นหาหุ้นที่ถุกเประเมินราคาต่ำไป (ราคาตลาด  น้อยกว่า มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น) หรือที่เรียกว่า "หุ้น Undervalue" ได้    โดยกลยุทธ์การค้นหาหุ้นลักษณะนี้มีข้อดีต่อพอร์ตการลงทุน 3 ประการ ได้แก่
  • หุ้นดี  ราคาถูก  ทำให้เม็ดเงินที่ใช้ลงทุนเกิดประสิทธิภาพ  เพราะได้หุ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ 
  • หุ้นดี  ราคาถูก  ทำให้พอร์ตการลงทุนไม่เสียงเกินไป  เนื่องจากเน้นหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า  และราคามีโอกาสปรับขึ้นได้ง่ายกว่า
  • หุ้นดี  ราคาถูก  ช่วยป้องกันในช่วงตลาดขาลงได้ดี  เพราะการซื้อจากราคาตลาดที่ถูก  เมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับทำให้ทนต่อแรงกระแทกได้ดีกว่า  เหมือนเราซื้อของดีและได้ราคาส่วนลดมาสูง  หุ้นหลายตัวที่กองทุน Windsor หามามักจะมี P/E ต่ำกว่าตลาดประมาณ 40-60% ซึ่งอาจหาได้ค่อนข้างง่ายในตลาดขาลง  และหาได้ยากขึ้นในตลาดขาขึ้น
            จอห์น  เนฟฟ์  ย้ำว่า  หุ้นเติบโตที่มีชื่อเสียงโ่ด่งดัง  มักจะมี P/E สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาทำให้นักลงทุนสนใจ  และความสนใจของนักลงทุนก็จะทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอีก  แต่ก็จะทำได้จนถึงระดับหนึ่งเท่านั้น  ในที่สุดอัตราการเติบโตก็กลับสู่ภาวะปกติ  ราคามักจะปรับตัวลดลงมาก  ทำให้นักลงทุนที่เข้าไปทีหลัง  ซื้อหุ้นในราคาที่สูง  และเกิดการขาดทุนได้

           ดังนั้น  การลงทุนของกองทุน Windsor จึงมักจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีค่า P/E ประมาณ 8-11 เท่า  ซึ่งปลอดภัยกว่าหุ้นที่มี P/E เริ่มแรก 40 เท่า ที่ P/E อาจจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 55 เท่า แต่เวลาที่ตลาดเป็นขาลง  ราคาของหุ้นที่มี P/E สูงๆ เช่นนี้ ก็จะปรับตัวลดลงเร็วกว่าหุ้นที่มี P/E ต่ำๆ

 คุณลักษณะที่ 2 เป็นหุ้นที่มีอัตราการเติบโตของกำไรอย่างสม่ำเสมอ

            แม้ว่า  จอห์น  เนฟฟ์  จะตั้งต้นคัดเลือกหุ้นที่มี P/E ต่ำ  แต่ก็ต้องคอยดูปัจจัยพื้นฐานว่าแข็งแกร่งหรือไม่  ตัวแปรหนึ่งก็คือ "ผลการดำเนินงานของธุรกิจ" ผ่านตัว "กำไร" ว่าเติบโตดีหรือไม่  เพราะกำไรที่เพิ่มขึ้น  จะทำให้ตลาดสนใจและทำให้ P/E สูงขึ้น  จอห์น เนฟฟ์ แนะนำให้ดูข้อมูลกำไร ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งผมขอสรุปเป็นภาพดังนี้

            

          "Historical Earnings" และ "Trailling Earnning" คือ กำไรที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งเราต้องนำมาวิเ้คราะห์ว่า  ที่ผ่านมาเติบโตอย่างไร  สะท้อนถึงความสำเร็จของกิจการและความแข็งแกร่งของปัจจัยพื้นฐาน  เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับราคาตลาดในปัจจุบัน  ทำให้แน่ใจว่าได้ของดี ราคาถูก แต่ "Forecasted  Earnings" เป็นสิ่งที่ต้องประมาณการขึ้น  เพราะเป็นตัวบ่งบอกถึงอนาคตของกิจการ  นักลงทุนต้องจินตนาการอนาคตของบริษัทและอุตสาหกรรมนั้นให้ได้  และต้องเข้าใจธรรมชาติของบริษัท  ซึ่งเป็นการยากที่บริษัทต่างๆ จะสามารถทำกำไรในแต่ละปีให้เพิ่มขึ้นตลอดไปได้  ผลกำไรอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง  เปรียบได้กับลูกตุ้มนาฬิกาที่แกว่งขึ้นลงไปมา

          กองทุน Windsor เข้าใจสถานการณ์เช่นนี้ดี  จึงค้นหาบริษัทที่มีอัตราการเติบดตของกำไรที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ  โดยกำหนดเกณฑ์ว่าถ้าอัตราการเติบโตของกำไรต่ำกว่า 6% หรือมากกว่า 20% ก็จะขายหุ้นนั้นออก  โดยให้ความเห็นว่าหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูงๆ มักจะมีความเสี่ยงมากเกินกว่าที่ต้องการ

          ส่วนการพยากรณ์กำไรไปข้างหน้า  จอห์น  เนฟฟ์ เห็นว่าระยะเวลา 5 ปี มีความเหมาะสม เพราะมีความยาวนานพอที่จะพิสูจน์ความสามารถทางการตลาดราคา  และการแข่งขันของธุรกิจ  อย่างไรก็ดี  การพยากรณ์ไปข้างหน้าเป็นเวลานานๆ ให้แม่นยำ  อาจทำได้ยาก ควรพิจารณาปรับตามวัฏจักรของอุตสาหกรรมด้วย เช่น หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี  ตัวสินค้าอาจมีอายุไม่ยาวนาน  การพยากรณ์กำไรทำได้ยากกว่าหุ้นของอุตสาหกรรมโภคภัณฑ์ทีึ่มีอัตราเติบโตต่ำ เช่น  ปูนซีเมนต์และทองแดง  เป็นต้น

           วิธีการลงทุนของ จอห์น  เนฟฟ์  แตกต่างจากวิธีของนักลงทุนประเภทที่ลงทุนตามสภาวะตลาด (Momentum  Investor) แม้จะสนใจตัวกำไรของบริษัทเหมือนกัน แต่ Momentum Investor มักตั้งความหวังในหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูง  ดังนั้น  เมื่อกำไรจากการดำเนินงานรายไตรมาสลดลง จึงอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงได้ ส่วนการปรับตัวเพิ่มขึ้นของกำไรเพียงเล็กน้อย  ก็ส่งผลให้เกิดความรู้สึกสดใส  ราคาหุ้นจึงขึ้นได้  โดยธรรมชาติแล้ว  ถ้าบริษัทส่วนใหญ่มีผลประกอบการออกมาใกล้เีคียงกับเป้าหมายที่คาดไว้  ราคาตลาดก็ควรขยับตัวเข้าใกล้ราคาเป้าหมาย แต่สำหรับหุ้นที่มี P/E สูงๆ หากความคาดหวังในเป้าหมาย กำไรที่เติบโตสูง มีการพลาดเป้าแม้เพียงเล็กน้อย  ก้จะทำให้ราคาปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ดังนั้น การซื้อหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำ  และมีกำไรเติบโตอย่างสม่ำเสมอจึงช่วยลดความผันผวนของราคาหุ้นในอนาคตได้

คุณลักษณะที่ 3 เป็นหุ้นที่มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลคงที่

  

     
         เป็นการประมาณโดยคร่าวๆ ว่า ถ้าลงทุนซื้อหุ้นในขณะนั้นแล้วถือไว้เมื่อได้รับเงินปันผลมา  จะคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเท่าไร ถ้าเราซื้อและถือหุ้นไว้เป็นระยะเวลานานๆ Dividend Yield จะมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราเห็นกระแสเงินสดรับจากการถือหุ้น (เงินปันผล) ซึ่งเป็นส่วนแบ่งที่เราจะได้รับอย่างสม่ำเสมอจากผลการดำเนินงานของบริษัท  การมีบริษัทที่ดีอยู่ในพอร์ตโฟลิโอและได้รับเงินปันผลดีอย่างต่อเนื่อง จะทำให้อัตราผลตอบแทนของพอร์ตอยู่ในระดับที่ดีสม่ำเสมอ  ไม่ต้องตื่นเต้นตกใจกับการขึ้นลงของราคาหุ้น เพราะตราบใดที่ยังไม่ขายออก  กำไร/ขาดทุนจากส่วนต่างของราคาก็ยังไม่เกิดขึ้น

        เนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนของจอห์น เนฟฟ์ เน้นที่หุ้น P/E ต่ำ ซึ่งราคาตลาดมักจะมีราคาถูก  จึงทำให้โดยเปรียบเทียบแล้ว  เมื่อได้รับเงินปันผลตอบแทนกลับมา Dividend Yield จะมีอัตราสูง (เพราะราคาเป็นตัวหาร) สำหรับคนที่ลงทุุนแล้ว  รอที่จะขายโดยมีความหวังว่าจะได้กำไรจากส่วนต่างราคาซื้อกับราคาขายนั้น Dividend Yield จะมีความสำคัญมาก  โดยเปรียบเปรยไว้ว่า "Yield ที่ดีกว่าอย่างน้อยก็ทำให้คุณมีออร์เดิร์ฟ (เงินปันผล) ไว้รับประทานเล่นระหว่างรออาหารจานหลัก (กำไรจากการขาย)" 

         อย่างไรก็ตาม  ในภาวะตลาดขาขึ้น  และราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นการยากที่ Dividend Yield จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะต้องทำให้ Dividend หรือเงินปันผลมีอัตราที่โตกว่าการเพิ่มขึ้นของราคา  คนที่เข้าซื้อหุ้นนี้ทีหลังก็มักจะมีต้นทุนสูงกว่า คนที่ซื้อคนแรก ผมจึงคิดว่า จอห์น เนฟฟ์ พยายามบอกเราเมื่อมาถึงตรงนี้ว่า ให้เราหาของถูก (หุ้น P/E ต่ำ)  พื้นฐานดี (กำไรดี  อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลดี) Dividend Yield ที่ขยับสูงต่อไปไม่ได้หรือเริ่มลดลง  อาจเป็นสัญญานเตือนให้ปรับพอร์ต  และเริ่มขายออกก็ได้

คุณลักษณะที่ 4 เป็นหุ้นที่มีความสัมพันธ์ที่ดีของอัตราผลตอบแทนโดยรวมกับค่า P/E ที่ซื้อ

           อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Total Return) ในที่นี้ คำนวณได้จาก

   


         อธิบายได้ว่า  หุ้นที่มีราคาตามหน่วยของ P/E 1 หน่วย  สร้างผลตอบแทนจากกำไรและเงินปันผลได้เท่าไร  ยิ่งมากก็ยิ่งทำให้ Total Return มีค่ามากนั่นหมายความว่า  ถ้าได้หุ้นที่ P/E ต่ำ  กำไรเติบโตดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ก็ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมมีค่าสูงขึ้น

          ดังนั้น  หุ้นที่เราเลือกมากจึงควรเป็นหุ้นที่มี Total Return สูงมากๆ ที่จริงแล้ว  ผมเห็นว่าคุณลักษณะที่ 4 นี้  ไม่มีอะไรใหม่  เพราะเป็นการรวมคุณสมบัติที่ 1 ถึง 3 เข้าด้วยกันเป็นอัตราส่วนเดียว เพื่อยืนยันว่า "เป็นของดี  ราคาถูก"

คุณลักษณะที่ 5 เป็นหุ้นที่มีความผันผวนตามวะฏจักรเศรษฐกิจซึ่งจะถูกชดเชยด้วย P/E 

           หุ้น P/E ต่ำที่กองทุน Windsor เลือกมามีหลายประเภท  แม้หุ้นที่เรียกว่า "หุ้นวัฏจักร" (Cyclical  Stocks) จอห์น  เนฟฟ์  ก็ลงทุนด้วย  โดยในบางขณะกองทุน Windsor มีหุ้นวัฏจักรถึง 1 ใน 3 หรือมากกว่านั้นในพอร์ตการลงทุนซึ่งหุ้นวัฏจักรที่  จอห์น เนฟฟ์ ลงทุน ได้แก่ หุ้นของบริษัทผลิตรถยนต์  เคมีภัณฑ์ และอลูมิเนียม หุ้นเหล่านี้มักมีราคาผันผวนขึ้นลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจและธุรกิจ ในช่วงที่วัฏจักรรุ่งเรือง ราคาจะสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว แต่ช่วงหลังจากจบวงจร ราคาหุ้นก้ลดลงอย่างมาก ดังนั้น จังหวะในการเข้าซื้อควรจะเป็นช่วงหลังจากจบวงจร ซึ่งราคาหุ้นลดลงอย่างมาก (P/E จึงต่ำ  ทำให้ชดเชยความเสี่ยงด้านราคาไปได้มาก)  และเมื่อถึงช่วงรุ่งเรือง  กำไรของธุรกิจเพิ่มขึ้นกว่าเดิมราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้น  มีความต้องการซื้อหุ้นกลุ่มนี้มากขึ้น  กองทุน Windsor จะถือว่าเป็นจังหวะที่จะขายหุ้นกลุ่มนี้

           จอห์น เนฟฟ์ ย้ำว่า ช่วงจังหวะเวลาเป็นเรื่องสำคัญ  นักลงทุนทุกคนล้วนอยากซื้อเมื่อถึงจุดต่ำสุด  และขายเมื่อวัฏจักรถึงจุดสูงสุด  ซึ่งยากที่จะคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การซื้อหุ้นที่ P/E ต่ำไว้ก่อน  จะทำให้ปลอดภัยเพราะมีต้นทุนต่ำกว่า นอกจากนี้ ถ้าเรามีการติดตามสภาวะและแนวโน้มของกำไรจากการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอระหว่างการลงทุน  เราจะสามารถช่วงชิงจังหวะการขายออก  เพื่อทำกำไรได้ดีกว่านักลงทุนทั่วไป  และโปรดจำไว้ว่า อย่าลงทุนเมื่อบริษัทมีกำไรสูงสุด (เพราะราคาจะขึ้นไปสูง  ทำให้ P/E มีค่าสูงเกินไป)

คุณลักษณะที่ 6 เป็นหุ้นของบริษัทที่มั่นคงแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต

        หุ้นที่กองทุน Windsor สนใจจะมีลักษณะดังนี้
  • เป็นบริษัทที่มีตำแหน่งการตลาดที่เข้มแข็ง  มีศักยภาพในการเติบโตซึ่งมีค่า P/E ต่ำ
  • อาจเป็นหุ้นเติบโต ( Growth  Stock ) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี  แต่ไม่มีคนสนใจ (ราคาจึงถูก)
  • หรืออาจเป็นหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ชั้นแนวหน้า  แต่เผชิญข่าวร้าย ทั้งที่มีปัจจัยพื้นฐานดี (ราคาจึงยังถูก)
  • วงจรธุรกิจของบริษัทเหล่านี้  กำลังจะกลับมารุ่งเรือง ซึ่งอาจเกิดจากทั้งปัจจัยภายนอก และ/หรือ การดำเนินกลยุทธ์ภายในของบริษัทเอง
  • เจาะดูฐานะการเงิน  และการทำกำไรต้องดี

คุณลักษณะที่ 7 เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี

         ในข้อนี้ผมคิดว่า  จอห์น  เนฟฟ์  คงจะอธิบายประเด็นด้านปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่อธิบายในคุณลักษณะที่ 6 โดยสิ่งที่ควรพิจารณาหุ้นของบริษัทเป้าหมายเพิ่มเติม ได้แก่
  • ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่ายอดขายที่เป็น "จำนวนเงิน" และ "จำนวนหน่วย" ถ้ายอดขายที่เพิ่มขึ้น มาจากทั้งราคาและปริมาณ  จะสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของธุรกิจ
  • ตรวจสอบการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า ทำได้ตามกำหนดหรือไม่ ถ้าไม่ทัน  อาจจะกระทบต่อยอดขาย  กำไร  และราคาหุ้นให้ลดลงได้
  • อย่าสนใจแต่กำไรสุทธิ ซึ่งเป็น Bottom Line ให้กลับมาดู BITDA (Earnings Before Interest, Taxes, Depreciation and Amortization) หรือกำไรจากการดำเนินงานชนิดหนึ่งที่ดูจำนวนเงินก่อนหักค่าใช้จ่ายที่เราไม่ต้องจ่ายเงินไปจริง เช่น ค่าเสื่อมราคา ( Depreciation ) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization)  ยิ่ง EBITDA สูงเท่าไร  ก็แสดงว่าบริษัทจะจ่ายคืนภาระค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีได้ดีเท่านั้น
  • พิจารณากระแสเงินสดของบริษัท  เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าบริษัทได้เงินมาจากไหน เอาไปใช้ทำอะไร ใช้เงินทุนผิดประเภท ไม่เหมาะสมและจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคตหรือไม่ในหลายๆ กรณี  กระแสเงินสดมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการประเมินราคาของบริษัท
  • พิจารณาค่า ROE (Return on Equity) 
        


         ยิ่งค่า ROE สูง ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีในการใช้เงินของผู้ถือหุ้น  มาสร้างผลการดำเนินงาน  ผลกำไรให้ธุรกิจ  ซึ่งจะส่งผลดีกลับมายังผู้ถือหุ้น  ผ่านโอกาสการรับเงินปันผลที่สูงขึ้นในงวดถัดไป  และ/หรือ ผ่านมูลค่าธุรกิจที่อาจดีขึ้นในอนาคต  ถ้าบริษัทนำกำไรไปขยายการลงทุนต่อ  ทำให้มีโอกาสได้รับกำไรส่วนเกิน (Capital Gain) ในอนาคตด้วยคับ