Thursday, October 30, 2014

ลงทุนแบบนี้มีแต่สำเร็จ....

 

    ใครอยากมีชีวิต "สบายวันนี้และสบายในวันหน้า"  ต้องลงมือวางแผนการเงินอย่างจริงจัง  เพราะสังคมเปลี่ยนไป  วิกฤติเกิดขึ้นมากมาย  คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น  สวัสดิการที่รัฐมอบให้ประชาชนทั่วไปไม่สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตตามที่แต่ละคนคาดหวัง  เราจึงต้องพี่งพาตนเองให้ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  การวางแผนการเงินที่ดีเท่านั้นที่จะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทางการเงินของเราเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ  แต่ท่ามกลางวิกฤติทางการเงินที่เข้ามารุ่มเร้ารอบด้าน  ก็ยังมีโอกาสดีๆ  ที่รอให้เราใช้ประโยชน์ได้เสมอ  เพราะปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายที่จะตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม  การวางแผนการเงินจะทำให้เราใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่  การสร้างความมั่งคั่งทางการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน


       อาจเพราะคนส่วนใหญ่มองว่า  การลงทุนมีความเสี่ยงจึงละเลยประเดนที่ว่า   การ "ไม่" ลงทุนก็มีความเสี่ยงไม่ต่างกัน   ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ  หากเราฝากเงินทั้งหมดไว้กับธนาคารเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า  ผลตอบแทนที่เราจะได้รับนั้นมีจำนวนเพียงพอให้เราพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต......  เงินฝากในธนาคารของเราอาจจะเป็น "ขาดทุนแบบทบต้น"  เมื่อเปรียบเทียบกับเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น  ดังนั้น  การจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้  จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ  และนับเป็นโอกาสดีที่ปัจจุบันเรามีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย  ลองพิจารณาหาทางเลือกใดที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดกันให้พบ  เพราะ...ชีวิตมีทางเลือกเสมอ....เราเลือกได้ว่าจะจัดการความเสี่ยงสำหรับอนาคตทางการเงินของตัวเองอย่างไร ... ลองทำดู.... รับรองคุณสามารถทำได้

     ลงทุนแบบนี้...มีชัยไปกว่าครึ่ง

 
   ผมเชื่อว่านักลงทุนต่างรู้ดีว่า "ความไม่รู้" คือความเสี่ยง  ดังนั้น  เมื่อเรา "รู้" คือมีความรู้ มีการศึกษาค้นคว้าจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ความไม่รู้ก็จะหมดไป  ความเสี่ยงก็จะลดลง  ใครไม่เชื่ออยากให้ลองเปรียบเทียบพฤติกรมของนักลงทุนที่ขาดทุนและนักลงทุนที่ได้กำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์  โดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ได้มอบหมายให้บริษัท  ทริส  คอร์ปอเรชั่น  จำกัด  สำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยที่เน้นลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 พบว่า  นักลงทุนรายย่อยที่มีผลกำไรจากการลงทุนมากกว่า 15% และนักลงทุนรายย่อยที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนมากกว่า 15% มีพฤติกรรมการลงทุนที่แตกต่างกัน   โดยรายงานชิ้นนี้เปิดเผย 10 พฤติกรรมการลงทุนที่จะเพิ่มโอกาสในการทำกำไร  และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับนักลงทุนรายย่อย  ไว้ดังนี้

       พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จ

  1. ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุนทั้งความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน  และความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายใจตลาดหลักทรัพย์  เช่น  วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย  การขึ้นเครื่องหมายในการซื้อขาย  กระบวนการรับเงินปันผล  เป็นต้น
  2. กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ  ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น  เช่น พันธบัตร  ตราสารหนี้  กองทุนรวม  ทองคำ  เป็นต้น
  3. วางหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไว้ล่วงหน้า  เช่น  กำหนดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน  กำหนดประเภทของหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน  เป็นต้น
  4. กำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์ซึ่งนักลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่  กำหนดอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้อยู่ที่ร้อยละ 1-5 
  5. ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีวินัยในการลงทุน  เพื่อเป้าหมายการลงทุนที่ได้กำหนดไว้
  6. ใช้ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับที่มาก  โดยมีการพิจารณาปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและการเมือง  ปัจจัยด้านภาวะอุตสาหกรรม  ปัจจัยด้านบริษัทที่ลงทุน  ปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวม
  7. ทยอยซื้อหลักทรัพย์  โดยผู้ลงทุนที่มีผลกำไรส่วนใหญ่ทยอยซื้อหลักทรัพย์แต่ละหลักทรัพย์  จำนวน 2-3 ครั้ง  และในช่วงตลาดขาขึ้น  ไม่ซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยเกินไป
  8. มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์  อย่างเช่น ซื้อหุ้นเพิ่มเติมเมื่อ SET Index มีแนวโน้วว่าจะขึ้นจากการประเมินด้านเทคนิค  ซื้อหุ้นตามแนวเส้่นค้าเฉลี่ย (Moving Average) ขายหุ้นเมื่อ SET Index มีแนวโน้มว่าจะลง  ขายหุ้นตามแนวต้านหรือเมื่อหลุดแนวรับ  เป็นต้น
  9. บันทึการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ
  10. ติดตามข้อมูลของบริษัท  ที่ลงทุนและคาดว่าจะลงทุน  รวมถึงสภาวะตลาดเป็นประจำ

พฤติกรรมที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาด  (ควรหลีกเลี่ยง)

  1. ไม่ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน
  2. ไม่กระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ  ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน
  3. ไม่วางแผน  หรือแนวทางในการลงทุน
  4. ไม่มีการกำหนดระดับอัตราผลขาดทุนที่ยอมรับได้  จากการลงทุนในแต่ละหลักทรัพย์
  5. ไม่มีวินัยในการลงทุน  ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนการลงทุนที่วางไว้
  6. ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคค่อนข้างน้อย  แต่มักซื้อหุ้นตามข่าวลือ
  7. ไม่มีการทยอยซื้อหุ้น  มักจะซื้อขายหุ้นบ่อยครั้งในช่วงตลาดขาขึ้น
  8. มีรูปแบบในการซื้อขายหลักทรัพย์  เช่น  ซื้อหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายมาก  หรือซื้อหุ้นตอนหุ้นวิ่งแต่ราคาไม่ปรับตัวขึ้นเลยขาย
  9. ไม่จดบันทึกกาซื้อขาย
  10. ไม่ติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
      สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ประกอบไปด้วยนักลงทุนทุกเพศทุกวัย  ทั้งนักลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน  จนถึงนักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนมากกว่า 10 ปี  มีทั้งวัยรุ่น  คนหนุ่มสาว  วัยกลางคน  จนถึงวัยเกษียณ  และมีอาชีพที่หลากหลายทั้งนักเรียน  นักศึกษา ข้าราชการ แม้บ้าน  ผู้บริหาร  พนักงาน  บริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ  เจ้าของกิจการ  ผู้ว่างาน  ตลอดจนคุณตาคุณยายวัยเกษียณ ฯลฯ

Tuesday, October 28, 2014

นักลงทุน VI ไม่โลภเกินความรู้ของตัวเอง..

 

      อยู่ในตลาดหุ้น อย่าโลภเกินความรู้ ของตัวเองแล้วจะไม่เสียเงินโดยไม่สมควรจะเสีย..!!

      เท่าที่ผมอยู่ในตลาดหุ้นมา  ผมพบว่าคนที่ขาดทุนหุ้นมักจะเป็นเพราะว่าโลภเกินความรู้ที่ตัวเองมี เช่น คุณเข้ามาตลาดหุ้นแล้วเพิ่งเริ่มศึกษา  ผมขอยกตัวอย่างหุ้นเกี่ยวกับหุ้นโรงไฟฟ้า คุณเริ่มที่จะเข้าใจว่าแต่ละบริษัทมีการเติบโตอย่างไร  แต่พอดีหุ้นกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยขึ้น  แล้วในช่วงระยะเวลานั้น  หุ้นกลุ่มสี่อสารเริ่มขึ้นเยอะ  คุณเริ่มรู้สึกเสียดายกลัวตกรถ  เพราะเห็นคนในเว็บบอร์ดหุ้นออกมาดีใจกันว่าเขากำไรหุ้นสื่อสาร  ทำให้คุณเริ่มกลัวจะน้อยหน้าคนอื่นคุณก็เลยื้อหุ้นสื่อสารบางตัวที่เพิ่งวิ่งอย้างร้อนแรงมากๆ เข้าไปไม่กี่วันต่อมาหุ้นสื่อสารตัวนั้นก็ตกหนักมาก  คุณก็วิตกกังวลมากจนนอนไม่เต็มอิ่ม


      เนื่องจากคุณไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับหุ้นตัวดังกล่าวมาก่อน  คุณจึงไม่รู้ว่า  ที่หุ้นขึ้นมานักลงทุนซื้อกันเพราะหวังอะไรมีข่าวอะไรกันแน่และข่าวที่ว่ามานั้นมีผลจริงๆ ต่อพื้นฐานหุ้นมากน้อยแค่ไหน

      ด้วยความที่คุณทนกังวลใจต่อไปไม่ไหว  คุณก็เลยขายหุ้นออกมาในราคาที่คุณขาดทุนพอควรและขาดทุนเร็วมากด้วยเพราะคุณเลือกลงทุนไปไล่ราคาตอนมันร้อนแรงมากเกินไปในช่วงที่หุ้นสื่อสารตัวที่ว่านี้ตกลงมา  หุ้นโรงไฟฟ้าที่คุณศึกษาไว้และกำลังจะซื้อก็เริ่มขึ้นมา  ตลกร้ายที่คุณตลกไม่ออกเลยทีเดียว

     คุณเเสียงเงินเพราะคุณปล่อยให้ราคาหุ้นในกระดานเข้ามาครอบครองจิตใจของคุณเสียแล้ว  ในตัวอย่างนี้นอกจากเสียงเงินแล้วยังเสียโอกาสที่จะไปศื้อหุ้นตัวที่คุณได้ศึกษามาดีพอแล้วอีกต่างหาก

     เวลาคุณวิเคราะห์หุ้นแต่ละกลุ่ม  ในตลาดหุ้นคุณจะเริ่มรู้ว่าหุ้นแต่ละกลุ่ม  มีวิธีการวิเคราะห์ที่ไม่เหมือนกัน

           ตัวอย่างหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
           เวลาเปิดโครงการแล้วขายได้จะต้องรอรับรู้รายได้ เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วโอนบ้านให้กับลูกค้าเวลาจะประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มนี้  คุณก็ต้องรู้ว่าจะมีโครงการไหนที่โอนในไตรมาสที่จะถึงนี้บ้าง    และต้องรู้ว่าโอนคอนโดเยอะไหม  โอนบ้านเดี่ยวเยอะไหม  เพราะส่วนใหญ่ขายคอนโดจะมีกำไรขั้นต้นสูงกว่า

        นอกจากนี้คคุณยังต้องวิเคราะห์ว่าโครงการของบริษัทที่คุณถือหุ้นอยู่มีแนวโน้มจะขายได้หมดไหม  เขาเปิดที่ทำเลดีไหม  ทำเลที่เปิดมีคู่แข่งเยอะหรือป่าว  ราคาของคู่แข่งเท่าไหร่  ของเขาเท่าไหร่

       นอกจากนี้  หุ้นกลุ่มนี้ก็ค่อนข้างที่จะอ่อนไหวต่อทิศทางของอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย  เพราะเมื่อขึ้นดอกเบี้ยกำลังซื้อบ้านของคนจะน้อยลง  เพราะเกือบทุกคนที่ซื้อบ้านก็ซื้อผ่อนอยู่แล้ว  นอกจากนี้  เวลาเศรษฐกิจไม่ดีหุ้นอสังหาริมทรัพย์จะได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง  เพราะคนส่วนหนึ่งเลื่อนซื้อบ้านออกไปก่อนได้เแถมคนที่จองเอาไว้แล้วก็ไม่มาโอน  และคนที่จะซื้อบ้านเดิ่มก็จะชะลอการซื้อไปอาจจะเหลือแต่คนที่จะเป็นต้องซื้อบ้านหลังแรกในตอนนั้นจริงๆ

       เรื่องพวกนี้เป็นความรู้เบื้องต้นที่ถ้าคุณสนใจจะลงทุนในหุ้นอสังหาริมทรัพย์  คุณควรรู้และทำความเข้าใจถึงความหมายของมันให้ได้ก่อน  ซึ่งกว่าคุณจะศึกษาเรื่องพวกนี้ได้หมดคงต้องใช้เวลาสักพักทีเดียว

        และหุ้นกลุ่มอื่นๆ ก็เช่นกัน  จะมีลักษณะการรับรู้รายได้  กำไรความเสี่ยงต่อปัจจัยภายนอกเรื่องเศรษฐกิจ  เรื่องนโยบายภาครัฐ  ไม่เหมือนกันการที่คุณจะลงทุนในหุ้นอุตสาหกรรมต่างๆ คุณจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้นเยอะมากพอควร

      ดังนั้น  เมื่อคุณเข้าตลาดหุ้นคุณควรจะเริ่มศึกษาจากอุตสาหกรรมที่วิเคราะห์ไม่ยากเกินไป

       มีตัวแปรต่างๆ ในการลงทุนน้อยแล้ว  พอเริ่มจับหลักได้คุณก็เริ่มศึกษาหุ้นกลุ่มอื่นๆ ต่อไป  แต่คุณไม่ควรจะซื้อถ้าคุณไม่เข้าใจมันดี  การเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์หุ้นในกลุ่มต่างๆ นั้นสมัยที่ผมเริ่มเรียนรู้ก็จะใช้วิธี  การอ่านบทวิเคราะห์  แล้วเวลาเจอศัพท์แปลกๆ ก็จะทำ highlight เอาไว้แล้วเข้าไปถามตามเว็บบอร์ดหุ้นต่างๆ หรือเมลไปถาม IR (งานนักลงทุนสัมพันธ์) บริษัท  หรือเมลไปถามนักวิเคราะห์ที่ออกบทวิเคราะห์มา

 

Monday, October 27, 2014

ลงทุนการศึกษา VS การลงทุนในหลักทรัพย์


ชีวิตคือการลงทุน  ตอน การศึกษา VS การลงทุนในหลักทรัพย์

         ในการดำเนินชีิวิตของคนเราแต่ละคนนั้นผูกพันอยู่กับการลงทุนตลอดเวลา  โดยที่เราไม่รู้ตัว  ที่เป็นเช่นนี้....เพราะเมื่อกล่าวถึงการลงทุน  คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพยืต่างๆ เพียงอย่างเดียว  ซึ่งในความเป้นจริงแล้วการลงทุนมีความใกล้ชิดกับการดำเนินชีวิตของคนเรามากกว่านั้น  หรือถ้าจะกล่าวว่า "ชีวิต..คือการลงทุน" ก็คงไม่ใช่คำกล่าวที่ผิดนัก  เพราะไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ต้องลงทุนทั้งสิ้น  ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกลงทุนในรูปแบบใด  อาจจะด้วยแรงกาย แรงใข หรือกำลังทรัพย์ก็ได้  อย่างเช่น การออกกำลังกายก็ถือเป็นการลงทุนแบบหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรง  มีสุขภาพดีแล้ว  ยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้อีกด้วย


        อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จะกล่าวถึง "การลงทุนด้านการศึกษา" ซึ่งถือเป็นการลงทุนระยะยาวชนิดหนึ่งเพราะนอกจากเราต้องนำเงินที่มีอยู่มาลงทะเบียนเรียน  แทนที่จะนำไปใช้สำหรับการอย่างอื่นแล้ว  ยังต้องยอมสละเวลาในการเที่ยวเล่นสนุกสนาน  มาศึกษาหาความรู้  เพื่อให้มีหน้าที่การงานที่ดี  มีรายได้  ตลอดจนมีความมั่นคงต่อไปในอนาคตซึ่งการลงทุนด้านการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดีกว่านั้น  ยอ่มต้องกมีหลักในการเลือก  ไม่ใช่เลือกแบบไร้ทิศทาง  เพราะหากเลือกไปแล้วไม่ตรงกับความต้องการของเรา  ก็จะเป็นการเสียทั้งเวลา  และเงินทองโดยใช่เหตุ  หากจะเปรียบให้เห็นภาพก็เช่นเดียวกันกับ "การลงทุนในหลักทรัพย์" กล่าวคือ  ถ้าไม่มีหลักในการลงทุนที่ดี  ก็อาจส่งผลให้ผู้ลงทุนต้งสูญเสียเงินที่นำมาลงทุนนั้น  ซึ่งถ้าพิจารณากันจริงๆ แล้ว หลักการลงทุนเพื่อการศึกษากับการลงทุนในหลักทรัพย์ก็ไม่ได้แต่ต่างกันมากมายนัก  โดยจะขอยกตัวอย่างการลงทุนเพื่อเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาเปรียบเทียบกับการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังนี้

      เริ่มจากต้องรู้จักตนเองก่อน (know yourself) การลงทุนเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา  เราต้องพิจารณาตัวเองก่อนว่า  ต้องการศึกษาเล่าเรียนไปเพื่ออะไร  เพื่อให้ได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้  เพื่อยกระดับของตนในสายอาชีพ  หรือเพื่อนำไปใช้สำหรับประกอบธุรกิจการค้าให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น  ไม่ใช่เลือกเรียนตามเพื่อนหรือตามกระแส  นอกจากนี้ ต้องถามตนเองว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน  อีกทั้งมีความตั้งใจ  และความพร้อมที่จะศึกษาเล่าเรียนหรือไม่  มีความรู้ความเข้าใจในสาขาที่ตนเลือกศึกษามากน้อยเพียงใด  มีงบประมาณสำหรับการศึกษาต่อเท่าไร  ถ้ามีไม่พอ  จะหาเงินทุน หรือกู้ยืมเพิ่มเติมได้จากที่ไหน  และท้ายสุดถ้าหากผ่านการคัดเลือกจากสถาบันการศึกษานั้นๆ จะสามารถจัดสรรเวลาสำหรับการเข้าเรียน  ทบทวนหัวข้อที่เรียน  รวมถึงการทำการบ้าน และรายงานที่ได้รับมอบหมายหรือไม่

        เช่นเดียวกับเมื่อเริ่มต้นลงทุนในหลักทรัพย์  เราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าต้องการอะไรจากการลงทุน  มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนอย่างไรบ้าง  เป็นการลงทุนเชิงรุก  หรือเชิงรับ  สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน  มีประสบการณ์การลงทุนบ้างหรือไม่  เเละเข้าใจเรื่องการลงทุนมากน้อยเพียงใด  ทั้งนี้ ก็เพราะการลงทุนโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจถือว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากๆ  ดังเช่นที่เราเคยได้ยินกันมาอยู่บ่อยๆ ว่า "การลงทุนมีความเสี่ยงสูง  ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน"  นั่นเอง   และท้ายสุดต้องสำรวจดูว่า  เรามีงบประมาณสำหรับใช้ในการลงทุนมากน้อยเพียงใด  โดยควรเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีระดับราคาซึ่งเหมาะสมกับงบประมาณที่ตนเองมี

          ศึกษาสภาพแวดล้อม (Know the Environment)  การลงทุนเพื่อเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นผู้เรียนต้องศึกษาสภาพแวดล้อมของสถานศึกาที่จะไปเรียนต่อว่าตั้งอยู่ที่ใด  สะดวกในการเดินทางหรือไม่  มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนหรือไม่  มีห้องสมุด  ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ห้องสำหรับศึกษาค้นคว้า  และห้องอาหารรวมถึงมีที่จอดรถเพียงพอหรือไม่  สำหรับผู้เรียนที่ขัดสนเรื่องเงินทุนก็ต้องศึกษาดูว่ามีกองทุนสำหรับการกู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือไม่  หรือมีทุนการศึกษาจากที่ใดบ้าง เกณฑ์ในการให้ทุนการศึกษาเป็นอย่างไร  และทุนการศึกษาที่ให้นั้นตรงกับสาขาวิชาที่ตนเองต้องการศึกษาหรือไม่  ตลอดจนพิจารณาถึงกฏระเบียบ ชื่อเสียง และความสำเร็จในปัจจุบันของสถานศึกษาที่สนใจนั้นๆ

        สำหรับผู้ลงทุนที่ชาญฉลาดก็ควรจะสำรวจสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองก่อนที่จะลงทุนในหลักทรัพย์เสมอ  โดยไม่ลงทุนอย่างบุ่มบ่ามตามข่าวลือ  หรือตามกระแสแต่อย่างใด  ทั้งนี้ ก็เพราะสภาพแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้น  ล้วนแต่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งสิ้น

        ทำความรู้จักกับสิ่งที่สนใจ (Know The Product) เมื่อสำรวจตนเอง และตรวจดูสภาพแวดล้อมแล้ว  คราวนี้ผู้เรียนต้องพิจารณาถึงหลักสูตรว่าตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่  อีกทั้งยังต้องพิจารณาถึงเนื้อหาของหลักสูตรสาขาวิชาที่ตนต้องการ  รายละเอียดของวิชาต่างๆ ที่ต้องเรียน  รวมถึงการศึกษาดูงาน  จำนวนหน่วยกิต  ระยะเวลาการศึกษา  กระบวนการวัดผล  อัตราค่าเล่าเรียน  รวมถึงค่าบำรุง  และค่าธรรมเนียมต่างๆ นอกจากนี้  ยังต้องพิจารณาถึงชื่อเสียง คุณวุฒิ  ประสบการณ์การสอน  และวิธีการสอนของคณาจารย์ผู้สอน  ซึ่งเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่เราอีกด้วย  ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดแก่ตัวเรานั่นเอง

       สำหรับผู้ลงทุนเองก็จะต้องทำการศึกษาว่าหลักทรัพย์ประเภทใด ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตนได้กำหนดไว้  ทำการพิจารณาว่าหลักทรัพย์เหล่านั้นให้ผลตอบแทนในลักษณะใด  และมีความเสี่ยงเหมาะสมกับภูมิต้านทางความเสี่ยงของตนหรือไม่  จากนั้นก็มาดูว่ามีหลักทรัพย์ประเภทใดที่สามารถเลือกลงทุนได้  ซึ่งตรงกับคำพูดยอดนิยมของซุนวู  ปราชญ์ชาวจีนที่กล่าวไว้ว่า "รู้เขา  รู้เรา  รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" นั่นเอง

          ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนที่เกิดขึ้นในชีิวิตคนเราเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม คุณควรตระหนักไว้ว่าการดำเนินชีวิตและการลงทุนเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ควบคู่กันเสมอ  ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจลงทุนในแต่ละช่วงจังหวะของชีวิตไปได้  จึงไม่ใช่สิ่งที่แปลกอะไรที่จะกล่าวว่า "ชีวิต  คือการลงทุน"
         

เรียนรู้และปรับตัวตลอดชีวิต



          เมื่ออายุผมผ่าน “วัยเกษียณ” ซึ่งในนิยามของคนทั่วไปก็คือ 60 ปี นั้น ชีวิตและกิจวัตรประจำวันของผมก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลย มันไม่เหมือนคนกินเงินเดือนจำนวนมากที่พอถึงวันเกษียณ ชีวิตก็เปลี่ยนไปมาก เขาไม่ต้องแต่งตัวไปทำงานแต่เช้า เขาไม่ต้องรับผิดชอบที่จะทำงานหรือสั่งงานลูกน้องหรือผู้ช่วย เขาไม่ต้องประชุมกับเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำมาเกือบตลอดชีวิตการทำงาน เขาไม่มีเพื่อนที่จะนั่งคุยในช่วงรับประทานอาหารกลางวัน ไม่ต้องนั่งนินทาใครต่อใคร เพราะทั้งหมดนั้น ผมเลิกทำมันตั้งแต่ผมลาออกจากงานประจำเมื่อผมอายุประมาณ 50 ปี จะเรียกว่าเป็นการเกษียณก่อนกำหนดก็ได้.....
แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะหลังลาออกจากงานประจำในสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ผมก็ยังคงทำงานอยู่ นั่นก็คืองานเกี่ยวข้องกับการลงทุน งานเขียนหนังสือ และงานสอนที่ผมทำพร้อม ๆ กับการทำงานประจำอยู่แล้ว การเลิกทำงานประจำที่ใช้เวลามากนั้น ทำให้ผมมีเวลาไปทำงานอื่นที่ทำอยู่แล้วมากขึ้น หลังจากนั้นผมก็เริ่มทำงานใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานเดิมที่ผมถนัดเช่น การทำรายการวิทยุและทีวีเกี่ยวกับการลงทุน การบรรยายในงานสัมมนา การเยี่ยมชมกิจการบริษัทจดทะเบียนและอื่น ๆ ในส่วนของสังคมนั้น สังคมของผมก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป คนที่ผมคบหากลายเป็นกลุ่มนักลงทุนแนว VI ที่มีอายุและพื้นเพหลากหลาย เรื่องที่คุยก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องของการลงทุนและอื่น ๆ อีกมาก ชีวิตผมไม่ได้หยุดหลังจากเลิกทำงานประจำ ว่าที่จริงมันเป็นการเริ่ม “เดินทางใหม่”

        การอ่านหนังสือและมีเวลาศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องและอาจจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน รวมถึงการมี “อิสรเสรี” ที่จะคิดหรือทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับแนวความคิดและธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของสังคมที่เป็นทางการอย่างเช่นในบริษัทขนาดใหญ่นั้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ความเข้าใจ ความเชื่อ ความศรัทธา และมุมมองในชีวิตต่าง ๆ ของผมเปลี่ยนไปได้ง่ายขึ้น กระบวนการ Evolution หรือวิวัฒนาการของผมเกิดเร็วขึ้นมาก เมื่อคิดย้อนกลับไป ผมคิดว่าถ้าผมยังทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทขนาดใหญ่จนถึงวันเกษียณ ชีวิตผมคงไม่เหมือนอย่างทุกวันนี้ เพราะตลอดเวลาที่ทำงานเป็นลูกจ้างนั้น ผมรู้สึกว่าความคิด ความเชื่อ และศรัทธาของผมเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก เหตุผลใหญ่อย่างหนึ่งก็คือ เราทำงานซ้ำ ๆ อย่างเดิมทุกวัน ที่เปลี่ยนไปก็ดูเหมือนแต่ชื่อลูกค้าและอุตสาหกรรมที่เขาทำเท่านั้นที่เปลี่ยนไป อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การทำงานประจำที่ต้องใช้เวลามากนั้น ทำให้เรามีเวลาอ่านหนังสือที่เป็นความรู้ที่หลากหลายน้อยมาก Scope หรือแวดวงของความรู้ของเราจะถูกจำกัดมาก นั่นก็คือ เรารู้แต่เรื่องของธุรกิจ ซึ่งนี่ก็เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนแต่มันไม่เพียงพอ เพราะเรื่องของการลงทุนนั้น มันเป็นศิลปะขั้นสูงที่ต้องใช้ความรู้ที่หลากหลายรอบด้าน พูดง่าย ๆ ต้องรู้จริง รู้กว้าง แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องรู้ลึก

          การที่จะรู้กว้างและรู้จักโลกโดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ทำตัวเป็น “นักศึกษา” ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาทางสังคมศาสตร์ จิตวิทยา และเรื่องต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยรหัสของวิชาที่เรียนก็คือเริ่มต้นจากเลข 1 เช่น เศรษฐศาสตร์ 101 หรือ 102 ซึ่งสอนวิชาที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ และวิชาอื่น ๆ เป็นต้น การเรียนวิชาเหล่านั้นโดยไม่ต้องสอบจะทำให้เราเข้าใจหลักการสำคัญของมันโดยไม่ต้องใส่ใจกับรายละเอียดมากนัก และนั่นจะทำให้เราสามารถนำมาใช้ได้ในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาต้องทำ

           ผมเคยย้อนคิดถึงชีวิตสมัยที่เป็นนักศึกษาปริญญาตรีแล้วก็พบว่าชีวิตเพียง 4 ปี นั้นได้เปลี่ยนโลกทัศน์ของตนเองไปแค่ไหนก็พบว่ามันเป็นช่วงเวลาที่มีสีสันมากมาย มันไม่ใช่แค่เรื่องของวิชาการที่ใช้ในการทำมาหากิน แต่รวมไปถึงเรื่องแนวคิดในด้านต่าง ๆ ทางจิตวิทยา สังคมและการเมือง แต่หลังจากเรียนจบไปทำงานในโรงงานนั้น นอกจากความรู้เรื่องทางการผลิตและวิศวกรรมแล้ว อย่างอื่นก็แทบจะหยุดหมด เวลาผ่านไป 6-7 ปีนั้น ผมเปลี่ยนไปน้อยมาก ความรู้ใหม่ ๆ แทบไม่เกิดขึ้นนอกจากความชำนาญในการผลิต การเรียนต่อในระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเองนั้น ทำให้เรามีมุมมองใหม่ขึ้นทางธุรกิจแต่ก็เป็นเรื่องทางทฤษฎีที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ที่ไหน เช่นเดียวกับการเรียนปริญญาเอกทางการเงินโดยเฉพาะทางด้านการลงทุนเองนั้น มันไม่ได้สอนให้รู้จักการลงทุนที่ดีและจะเปลี่ยนชีวิตเราได้ มันแค่สอนให้รู้ว่า เราจะทำผลตอบแทนได้เท่ากับค่าเฉลี่ยอย่างไรโดยที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม การเรียนในแบบของ “นักศึกษา” นั้น มันมีประสิทธิภาพสูงกว่าการทำงานในการเปลี่ยนตัวเราไปในทางที่ดีขึ้นอยู่ดี

          มองย้อนหลังกลับไป ผมคิดว่าผมคิดถูกต้องมากที่ลาออกจากงานประจำในวัย 50 ปี ชีวิตหลังลาออกจากงานของผมคล้าย ๆ กับการกลับมาเป็นนักศึกษาปริญญาตรีใหม่ สิ่งที่ผมทำส่วนใหญ่คล้าย ๆ กับการทำ “กิจกรรมนักศึกษา” นั่นคือ เป็นเรื่องที่ทำเพราะเราอยากเรียนรู้ ทำเพราะรู้สึกสนุกสนาน ทำเพราะมันเป็นสิ่งที่ดีและตรงกับทัศนะของเราและทั้งหมดนั้น ไม่ได้ต้องการเงิน! แม้แต่เพื่อนและสังคมเองก็เปลี่ยนแปลงไป ในช่วงที่ทำงานประจำนั้น ทุกคนมี “ชนชั้น” เป็นนาย เป็นลูกน้อง เป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นผู้ใหญ่ และอีกร้อยแปด แต่ในสังคมของการลงทุนนั้น ทุกคนดูเหมือนจะเป็นเพื่อนกันแม้ว่าจะต่างอายุและฐานะทางสังคมอื่น ๆ ว่าที่จริง ไม่มีใครมีสถานะทางสังคมเป็นพิเศษอยู่แล้ว และอายุเองก็ไม่มีความหมาย นี่อาจจะทำให้เรารู้สึกแก่ช้าลงและอาจจะทำให้เราเข้าใจ “โลกยุคใหม่” ได้ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนั้น ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนได้ดีขึ้น

         Evolution หรือการวิวัฒนาการของผมหลังจากลาออกจากงานประจำนั้นผมคิดว่าเร็วและดีขึ้นมาก ผมนึกไม่ออกว่าตนเองจะเป็นอย่างไรถ้ายังทำงานอยู่จนถึงอายุเกษียณที่ 60 ปี แต่ผมเชื่อว่าผมคงเป็นคนที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมที่ไม่สามารถเข้าใจความนึกคิดของคนรุ่นใหม่ได้มากนัก เหตุผลอาจจะเป็นเพราะผมคงไม่ได้อ่านหนังสือและศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็น “ธรรมชาติ” ของชีวิตและสังคมที่จะต้องดำเนินไปตามวิวัฒนาการที่ควรจะเป็นของคนไทย

         มองย้อนหลังกลับไปตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมาผมพบว่า ผมเปลี่ยนไปไม่น้อยในด้านต่าง ๆ ผมจำความคิด ความเชื่อและความศรัทธาสมัยที่เป็นเด็กในมหาวิทยาลัย เป็นพนักงานและผู้บริหารในบริษัทได้และมันไม่เหมือนกับในปัจจุบัน แม้แต่การลงทุนของผมเองก็มีการเปลี่ยนแปลงไประหว่างช่วงที่ผมยังเทรดหุ้นเป็นรายหลายวันหรือรายเดือน ระหว่างช่วงที่เป็น VI ใหม่ ๆ และในปัจจุบัน นอกจากนั้น ผมยังคิดอีกว่าอนาคตผมก็ยังอาจจะเปลี่ยนไปอีก ชาร์ลี มังเกอร์ คู่หู วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า บัฟเฟตต์เองนั้น มีวิวัฒนาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ในการลงทุนแม้ว่าอายุจะ 70-80 ปีขึ้นไปแล้วเขาก็ยังพัฒนาไปได้ต่อเนื่อง ผมเองก็หวังว่าผมก็จะไม่หยุด ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่คนจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิต ผมพบเพื่อนหลายคนของผมตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีนั้น เคยมีความโดดเด่นมากแต่หลังจากหลายสิบปีผ่านไปไม่ได้มีการพัฒนาหรือปรับตัวมากนัก ผลก็คือความก้าวหน้าก็หยุดลงและกลายเป็นคนที่ล้าหลังเพื่อนที่เคยไม่โดดเด่นแต่ปรับตัวเองมาตลอด

           เขียนมายืดยาวถึงเรื่อง “ความหลัง” ตั้งแต่เด็กก็เพื่อที่จะบอกว่า การเรียนรู้ ปรับตัว และพัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนั้น เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในชีวิต คนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงหรือมีความสามารถโดดเด่นในช่วงเวลาหนึ่งแต่แล้ว “ติด” อยู่กับสิ่งเดิมและไม่เรียนรู้เพิ่มเติมนั้น ไม่มีทางจะประสบความสำเร็จเท่าคนที่ “วิวัฒนาการ” ไปเรื่อย ๆ ซึ่งถึงแม้ว่าจะไปอย่างช้า ๆ แต่การไม่หยุดนั้น ย่อมทำให้สุดท้ายแล้วจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า

cr. ดร.นิเวศน์  เหมวชิรวรากร

Friday, October 24, 2014

หลักการง่าย ๆ ของ VI : ซื้อเมื่อคนอื่นกลัว และขายเมื่อคนอื่นโลภ





ซื้อเมื่อคนอื่นกลัว  และขายเมื่อคนอื่นโลภ  

   มีคำกล่าวของนักลงทุนระดับโลกว่า เมื่อคนอื่นโลภสุดชีวิตอยากจะซื้อหุ้นกันมากๆ มองโลกในแง่ดีมากเวลานั้น  นั่นแหล่ะเป็นเวลาที่น่ากลัว..!!

    เนื่องจากถ้าใครๆ ก็เช้าซื้อหุ้นแล้วใครจะมาซื้อหุ้นต่อจากคุณล่ะ  ถ้าคุณหันซ้ายหันขวาเพื่อนักลงทุนทุกคนของคุณก็มีหุ้น XXX หมดแล้ว พอคุณถามว่าทำไมถึงซื้อหุ้น XXX เขาก็บอกว่า มีข่าวมาแรงว่าหุ้นตัวนี้กำลังจะไปต่อได้อย่างงดงาม


     ทุกสำนักวิจัยออกมาบอกว่า  หุ้นตัวไหนดีมากๆ อาจทำให้หลายคนจะหลับหูหลับตาซื้อหุ้นเพราะเชื่อตามๆ กันว่า หุ้นจะไปต่อได้เรื่อยๆ หลักจากที่หุ้นขึ้นมาตลอด  เมื่อนั้นตลาดหุ้นก็จะไม่ใช่ที่ที่ไว้สำหรับลงทุน  กิจการที่เราอยากเป็นหุ้นส่วนแต่เหมือนการเสี่ยงโชคที่คนใหม่ๆ ที่เข้ามาในตลาดหุ้นถูกความโลภเข้าบังตาแล้ว  ก็ไล่ซื้อหุ้นอย่างเดียวด้วยความเชื่อว่าพรุ่งนี้หุ้นจะสูงขึ้น

     เมื่อไหร่ที่ตลาดหุ้นตกอยู่ในสภาพนี้  จะเป็นช่วงที่อันตรายมากนักลงทุนระดับโลกแนะนำว่าคุณควรขายหุ้นในช่วงเวลาดังกล่าวนี้  เนื่องจากความโลภแบบไม่ลืมหูลืมตาของผู้คนทำให้ราคาของตัวหุ้นขึ้น  เกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงที่มันควรจะเป็น

       ในทางกลับกันเมื่อเกิดข่าวร้ายขึ้นมาแล้วหุ้นเริ่มลงแรงๆ แรกๆ ผู้คนก็จะไม่เชื่อว่าตลาดขาลงครั้งใหญ่กำลังมาเยือนแล้ว  คนที่มีหุ้นอยู่จะคิดว่าหุ้นพักตัวเพื่อวิ่งต่อ  ส่วนคนที่ไม่มีหุ้นที่ตกรถก่อนหน้านี้ก็รู้สึกว่านี่แหล่ะเป็นจังหวะซือของถูก  แต่พอซื้อไปแล้วหุ้นลงไปเรื่อยๆ เมื่อหุ้นลงต่อเนื่องติดกันซักระยะหนึ่ง  สภาพจิตใจของผู้ที่ถือหุ้นจะแย่มาก  และจะเริ่มมองโลกในแง่ร้ายตามต่อเมื่อหุ้นยังลงอีกไม่หยุด  ซ้ำข่าวร้ายทางเศรษฐกิจเริ่มออกมายืนยันว่าเศรษฐกิจจะแย่ลง  ผลกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นจะแย่ลงเยอะ  หลายบริษัทอาจจะถึงขนาดขาดทุน   ทำให้นักลงทุนก็ยิ่งมองโลกในมุมร้ายมากขึ้นไปอีก  เมื่อถึงจุดนั้นแล้วหลายคนจะเริ่มถอดใจว่าหุ้นจะลงต่อไปเรื่อยๆ แน่ๆ จะหาจุดสิ้นสุดของความโหดร้ายนี้ได้อย่างไร

      ว่าแล้วก็อาจมีหลายคนที่คิดว่าถึงจะขาดทุนหนักก็ยังดีกว่าเงินหายไปทั้งหมด  ก็เลยเริ่มขายหุ้นเพื่อออกมาจากขบวนรถไฟหัวเสียขบวนนั้น  เมื่อมีคนเริ่มขายออกมาท่ามกลางข่าวร้ายทางเศรษฐกิจ  และแนวโน้มผลกำไรที่จะแย่ลงก็จะยิ่งไปยืนยันให้คนอื่นๆ ที่ยังถือหุ้นอยู่รู้สึกว่า "แน่ๆ แล้วรอบนี้คงตายกันหมดไม่เหลือแน่ๆ "

      แล้วก็แห่กันเทขายหุ้นแบบไม่ลืมหูลืมตา  เวลาที่หุ้นลงแรงจนถึงจุดหนึ่งหุ้นจะลงไปแรงมากๆ ได้อย่างที่ทุกคนไม่เชื่อ  เพราะว่ามีบางคนที่ไปกู้เงินโบรกเกอร์มาซื้อหุ้น (มาร์จิ้น)  และคนเหล่านี้ไม่ได้คิดเผื่อเหลือเผื่อขาดว่าถ้าเกิดมีอะไรร้ายๆ ขึ้นมาจะเป็นอย่างไร  ทำให้เวลาหุ้นลงโบรกเกอร์ก็จะบังคับลูกค้าเหล่านี้ให้ขายหุ้นออกมา  ทำให้หุ้นลงแรงมากเพราะเป็นการขายหุ้นแบบบังคับขาย

     เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นหุ้นจะมีราคาถูกแบบเหลือเชื่อเพราะนักลงทุนไม่ได้สนใจอะไรอีกแล้ว  นักลงทุนถูกความกลัวเข้าครอบงำอย่างสมบูรณ์แบบ  แต่นี่แหล่ะเป็นจังหวะที่ดีมากๆ ของนักลงทุน VI ยกตัวยอย่างเหตุการณ์ ตอนปลายปี 2008 หลายคนเจอหุ้นลงแรงๆ ติดกันจนเครียดไม่เป็นอันกินอันนอน  ในตอนนั้นหุ้นหลายตัวมีปันผลมากกว่าปีละ 15% ที่ราคาต่ำสุดมีบางตัวปันผลเกือบ 20% ด้วย เนื่องจากว่าในตอนฝรั่งจำเป็นต้องดึงเงินกลับประเทศทำให้เทขายหุ้นอย่างหนักแต่กำไรของหุ้นหลายๆ ตัวไม่ได้ลดลงเท่าไหร่ทำให้มีหุ้น P/E 3-4 เท่าเต็มตลาดหุ้นเลยทีเดียว  ซึ่ง P/E ระดับ 3-4 เท่าก็เปรียบเหมือนคุณลงทุนแล้ว 3-4 ปี ได้เงินกลับคืนมา  ในชีวิตของนักลงทุนคนหนึ่งจะไม่เจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยนัก  หลายคนที่ซื้อหุ้นในช่วงนั้นก็รวยไม่รู้เรื่องในระยะเวลาเพียง 2 ปี  นีั่เป็นที่มาของคำว่าทำไมควรโลภตอนที่ทุกคนกลัว

     เรื่องนี้จำเป็นต้องขยายความเพื่อกันไม่ให้คนไปใช้หลักการแบบผิดๆ ผมคิดว่าถ้าเราจะกลัวเมื่อคนอื่นโลภเราควรจะขายเมื่อหุ้นมันถึงมูลค่าที่เหมาะสมหรือเกินมูลค่าที่เราคิดไปแล้วมากๆ ไม่ใช่หุ้นบางตัวประกาศกำไรออกมาดีแล้วคนเริ่มมาซื้อหุ้นแล้วเราตกรถซื้อไม่ทันก็เลยปลอบใจตัวเองว่าอย่าไปซื้อเลยเพราะคนอื่นกำลังถูกความโลภครอบงำมันไม่ใช่   แบบนี้ไม่เรียกว่าความโลภ  แต่มันเป็นการซื้อหุ้นที่ผลกำไรออกมาดีเกิดคาดเฉยๆ  แล้วอาจจะทำให้หุ้นวิ่งแรงมาก

     หลักการที่สำคัญคือ

      เราต้องไปดูกำไรของหุ้นตัวที่เลือกว่าดีจริงไหม  เกิดจากอะไร  ความโลภในแบบที่น่าขายหุ้นไม่ใช่ความโลภธรรมดา  เป็นความโลภแบบสูงสุด เป็นแบบอาการที่คิดว่าหุ้นจะขึ้นไปเรื่อยๆ เลยซื้อไว้ก่อนโดยที่ไม่ได้รู้เรื่องราวของบริษัท  นักลงทุนควรแยกแยะให้ออก ระหว่าง หุ้นที่ขึ้นเพราะมีพื้นฐานดีจริงๆ หรือหุ้นที่ขึ้นเพราะหน้ามืดตามัว  ในทางกลับกันเวลาหุ้นลงนักลงทุนก็ต้องแยกให้ออกว่า แบบไหนลงเพราะกิจการไม่ดี  กับแบบไหนลงเพราะอารมณ์คนมันพาไป  ส่วนใหญ่การลงแบบกิจการไม่ดีจะมีงบการเงินบริษัทออกมายืนยันว่าธุรกิจแย่ลงไปมากจากที่เคยกำไรก็ขาดทุน    หุ้นพวกนี้เวลาลงคุณอย่าไปคิดว่าดีน่าลงทุน  เพราะนักลงทุนได้มองโลกในแง่ร้ายมากๆ แล้วไปซื้อกันเถอะเพราะหุ้นมันมีเหตุผลที่ดีพอที่ลงไปไม่ใช่ลงไปเพราะคนกลัวหรือเข้าใจผิด  ฉะนั้น

"จงซื้อหุ้นเมื่อทุกคนกลัว  และขายหุ้นเมื่อทุกคนโลภ"

Thursday, October 23, 2014

อาคาร-ที่ดิน โรงงาน และเครื่องจักร

Property, Plant, and Equipment : For Warren Not Having Them Can Be a Good Thing
อาคาร-ที่ดิน โรงงาน และเครื่องจักร : สำหรับวอร์เรน การไม่มีของเหล่านี้อาจเป็นสิ่งดี


งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)

       รวม สินทรัพย์หมุนเวียน

Ò อาคาร-ที่ดิน/โรงงาน/เครื่องจักร
       ค่าความนิยม – สุทธิ
       สินทรัพย์ไม่มีตัวตน – สุทธิ
       การลงทุนระยะยาว
    สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ



$12,005

8,493
4,246
7,863
7,777
2,675
สินทรัพย์อื่นๆ                                                                    0
      รวม สินทรัพย์
$43,059














    

   อาคาร-ที่ดิน/โรงงาน/เครื่องจักร และมูลค่ารวมของสิ่งต่างๆที่กล่าวมาจัดเป็น  สินทรัพย์ ในงบดุล ตัวเลขเหล่านี้มาจากต้นทุนเดิมลบค่าเสื่อมสะสม ซึ่งเกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของอาคาร-ที่ดิน โรงงานและเครื่องจักรตามการเวลา โดยทุกปีจะมีการหักค่าเสื่อมจำนวนหนึ่งออกจากมูลค่าของโรงงานและเครื่องจักร
                บริษัทที่ไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะต้องเผชิญกับการแข่งขันเสมอ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะต้องปรับปรุงโรงงานผลิตบ่อยๆ เพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้องทำก่อนที่เครื่องจักรหมดอายุใช้งาน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไปเพิ่มตัวเลขรายการ โรงงานและเครื่องจักรในงบดุลให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
                บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะไม่ต้องคอยวุ่นอยู่กับการพัฒนาโรงงานและเครื่องจักรอยู่เสมอเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ดูบริษัทผู้ผลิตหมากฝรั่งริกลี่ย์เป็นตัวอย่าง บริษัทได้สร้างโรงงานผลิตหมากฝรั่งและไม่เคยต้องปรับปรุงโรงงานหรือเครื่องจักรในการผลิตเลยจนกระทั่งหมดอายุการใช้งาน
                สรุปก็คือ บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะเปลี่ยนเครื่องจักรหรือปรับปรุงโรงงานหลังจากที่มันหมดสภาพแล้วเท่านั้น ในขณะที่บริษัทไม่มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืนจะต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงเสมอเพื่อให้แข่งขันได้
                บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะสามารถระดมเงินทุนภายในบริษัทเพื่อสร้างโรงงานใหม่หรือซื้อเครื่องจักรใหม่ได้ แต่บริษัทที่ไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะถูกบังคับให้ต้องเป็นหนี้ในการหาเงินมาปรับปรุงโรงงานอยู่เสมอเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน
                เรามองเห็นได้จากตัวอย่างบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน เช่น ริกลี่ย์ ซึ่งมีโรงงานและเครื่องจักรมูลค่า $1,400 ล้าน มีหนี้สิน $1,000 ล้าน และมีกำไรต่อปีราว $500 ล้าน เปรียบกับจีเอ็มบริษัทที่ไม่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน ซึ่งมีโรงงานและเครื่องจักรมูลค่า $56,000 ล้าน มีหนี้สิน $40,000 หมื่นล้าน และขาดทุนในสองปีที่ผ่านมา
                หมากฝรั่งไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และเครื่องหมายการค้าริกลี่ย์ สามารถรับประกันความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งอย่างแน่นอน ในขณะที่จีเอ็มต้องปลุกปล้ำกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกและต้องปรับปรุงและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่ออยู่ข้างหน้าคู่แข่ง ซึ่งหมายความว่าโรงงานของจีเอ็มจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่เสมอด้วย
                ธุรกิจผลิตหมากฝรั่งเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นได้มากกว่าธุรกิจผลิตรถยนต์ หากดูว่า $100,000 ที่ลงทุนในหุ้นของริกลี่ย์ในปี 1900 มีมูลค่าราว $547,000 ในปี 2008 ในขณะที่การลงทุนในหุ้นของจีเอ็มในปี 1990 มีมูลค่าเหลือเพียง $97,000 ในปี 2008 แสดงว่าผู้ถือหุ้นริกลี่ย์ได้กำไรมากกว่าถึง $460,000 ขณะที่ผู้ถือหุ้นริกลี่ย์เคี้ยวหมากฝรั่งอย่างสบายใจไปสู่ความร่ำรวย ผู้ถือหุ้นจีเอ็มกลับต้องยืนดูโชคก้อนใหญ่พุ่งลงเหวไปต่อหน้าต่อตา

                วอร์เรนบอกแล้วไม่ผิดว่า การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความสม่ำเสมอไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย เท่ากับกำไรที่สม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอหมายถึงการไม่ต้องใช้เงินมหาศาลในการปรับปรุงโรงงานและเครื่องจักรเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน ทำให้บริษัทมีเงินในการลงทุนในธุรกิจที่สร้างรายได้อื่น ในการจะรวยได้ สิ่งแรกเราต้องทำเงินก่อน ซึ่งถ้าทำเงินได้มากก็จะช่วยได้มาก และวิธีหนึ่งในการทำเงินได้มากคือ การไม่ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมากเพื่อชิงดีชิงเด่นกับคนอื่น

Tuesday, October 21, 2014

หมดสิ้นยุคทองของ VI



ผมเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของ “สัจธรรม” ข้อหนึ่งที่ว่า อะไรก็ตาม เมื่อมันดี โต ก้าวหน้า ไปมากและยาวนานเกินกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตหรือเกินกว่าสิ่งอื่นหรือคนอื่นที่เป็นคู่แข่งกัน ในที่สุดมันก็ต้องชะลอและกลับตัวลงมาเพื่อที่จะทำให้มันไม่ดีเกินไป โตเกินไป หรือก้าวหน้ามากเกินไป มิฉะนั้น ในระยะยาวแล้ว มันก็จะโตเกินกว่าที่เป็นไปได้ตาม “ธรรมชาติ” ผมมีความเชื่อว่าธรรมชาตินั้น ในระยะยาวแล้วไม่มีความ “ลำเอียง” มันจะพยายามปรับให้เกิดความ “สมดุล” ที่ไม่มีอะไรที่ใหญ่หรือ “ดีเด่น” เกินไปจนทำให้สิ่งอื่นนั้นเล็กเกินไปและ “ด้อย” กว่าจนอยู่ไม่ได้ ภาษาทางปรัชญาอาจจะเรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า “สูงสุดคืนสู่สามัญ” ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Regression to the Mean” หรือแนวโน้มทางสถิติของสิ่งต่าง ๆ ในทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่จะวิ่งเข้าหาอัตราการเติบโตหรือตัวเลขของ “ค่าเฉลี่ย” โดยที่ไม่ต้องไปคิดหาเหตุผลว่าอะไรทำให้มันเป็นเช่นนั้น เหตุผลนั้น แน่นอนต้องมี เพียงแต่ว่าเราอาจจะยังไม่รู้หรือมันอาจจะยังไม่เกิด อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์นั้นมีอาชีพต้องหาเหตุผล เพื่อที่จะบอกว่าอะไรที่จะทำให้การเติบโตนั้นจะต้องช้าลงกว่าเดิมไปอีกหลายปีเพื่อที่มันจะวิ่งเข้าสู่ค่าเฉลี่ย

ผมกำลังจะบอกว่าความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าของการลงทุน หรือผลตอบแทนที่นักลงทุนโดยรวมและเฉพาะอย่างยิ่ง VI ของไทยเคยทำได้มายาวนานกว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้ มันอาจจะถึงเวลาที่จะต้องชะลอตัวลง การลงทุนที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนต่อปีที่เกิน 20%-30% แบบทบต้นในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไปนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ที่สามารถทำผลตอบแทนสูงในระดับนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของตลาดหุ้นไทยนั้น ผมเชื่อว่ามีไม่น้อย และมันทำให้เกิด “ภาพลวง” ว่า การทำผลตอบแทนเกินกว่า 20%-30% ต่อปี ในระยะยาวนั้นเป็นไปได้ไม่ยาก แต่ในความคิดของผมแล้ว นี่อาจจะเป็นเวลาที่แนวโน้มการทำกำไรงดงามอย่างง่าย ๆ ของนักลงทุนในตลาดหุ้นกำลังเปลี่ยนไป นี่อาจจะเป็นเวลาที่ “ยุคทองของ VI” ที่ดำเนินมามากกว่า 10 ปี กำลังหมดลง ภายในเวลา 10 ปีข้างหน้านั้น การทำผลตอบแทนได้ปีละ 15%-20% แบบทบต้นอาจจะเป็นสิ่งที่ “ดีสุดยอด” แล้ว เพราะนั่นสำหรับหลาย ๆ คนจะเป็นสถิติระดับโลกที่สามารถทำผลตอบแทนในระดับ 20% ขึ้นไปเป็นเวลาอาจจะ 20 ปีติดต่อกัน น้อยคนมากที่จะทำได้!

เหตุผลที่ผมคิดว่ายุคทองของตลาดหุ้นไทยนั้นใกล้จบลงมีหลาย ๆ เรื่อง และมันคือเหตุผลที่ทำให้เกิดยุคทองหรือทศวรรษทองของตลาดหุ้นไทยในทางตรงกันข้าม พูดง่าย ๆ สิ่งที่ขับดันราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นมาตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้น กำลังหมดพลังลงหรือเปลี่ยนทิศ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นต้องบอกว่าอยู่ในระดับปานกลางคือช่วงหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มานั้นเราโตปีละประมาณ 5% จากประมาณ 7% ก่อนหน้านั้น จนถึงประมาณปี 2550 หลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็เริ่มชะลอตัวลงมาค่อนข้างมากเหลือแค่ 3%-4% ผมเองไม่รู้ว่านี่เป็นการชะลอตัวลงอย่างถาวรแล้วหรือไม่ เหตุผลก็เพราะว่าคนไทยนั้นเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว เด็กเกิดใหม่มีน้อยลงมาก กำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็น้อยลงและในอนาคตก็อาจจะเริ่มลดลง และหากเป็นอย่างนั้น ไทยก็อาจจะเหมือนประเทศของคนสูงอายุในยุโรปหรือในญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจเติบโตยาก ตลาดหุ้นก็จะไปไม่ได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยเติบโตสูงมากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นผมคิดว่าคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มลดลงมาอย่างรวดเร็วหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2542 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่ลดลงจากประมาณ 5% เหลือ ไม่ถึง 4% พอถึงปี 2543 ดอกเบี้ยลดลงอีกเหลือประมาณ 2.5% และลดลงต่อเนื่องจนเหลือเพียงประมาณ 1% ในปี 2546 หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยก็ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอดจนถึงวันนี้ และนี่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนถอนเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นต่อเนื่องยาวนานและทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นมาตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนับจากวันนี้ดูเหมือนว่ามันคงไม่สามารถลงต่อไปได้อีกและมีแต่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายของสหรัฐที่จะลดสภาพคล่องทางการเงินโดยการยกเลิก QE และหากอัตราดอกเบี้ยของไทยเริ่มปรับตัวขึ้น โอกาสก็เป็นไปได้ที่คนจะถอนเงินออกจากตลาดและทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลงหรือขึ้นต่อไปได้ยากขึ้น

ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2543 เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นสอดคล้องกับเวลาที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลงอย่างชัดเจน จนถึงวันนี้เป็นเวลา 14 ปี ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 16%-17% แบบทบต้น เงินลงทุน 1 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาที่ยาวมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ประเด็นก็คือ อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้านั้น ผมคิดว่าตลาดจะปรับตัวดีแบบเดิมคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะมันจะทำให้ตลาดหุ้นไทยใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับศักยภาพของประเทศ

การปรับตัวของหุ้นไทยยังน่าจะมาจากการที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตขึ้นหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และการปรับโครงสร้างทางการเงินในช่วง 2-3 ปีต่อมา ในช่วงเวลาประมาณ 12 ปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณ 117% หรือโตปีละประมาณ 6.7% แบบทบต้น แต่ดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นนั้นปรับตัวขึ้นถึงประมาณ 260% หรือเพิ่มขึ้นปีละกว่า 13% คิดเป็น 2 เท่าของกำไร ดังนั้น ราคาหุ้นของไทยในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมานั้นไม่ได้ขึ้นเพียงเพราะกำไรบริษัทเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นด้วย “พลังเงิน” ของนักลงทุนที่ทำให้หุ้นแพงขึ้น ซึ่งตัวเลขค่า PE ของตลาดมีการปรับตัวขึ้นจากค่า PE ในช่วงหลังวิกฤติใหม่ ๆ ไม่เกิน 10 เท่าก็กลายเป็นประมาณ 18 เท่าในปัจจุบัน

ประเด็นก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนนั้น เร่งตัวขึ้นในช่วงหลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่ในช่วงปีหรือสองปีนี้ กำไรกลับไม่ได้โตขึ้นเท่าไรนัก อาจจะมาจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤติการเมืองหรือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่เอื้ออำนวยหรืออาจจะมาจากผลของการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะดีขึ้นตามที่นักวิเคราะห์คาด แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนก็ดูเหมือนว่าจะไม่โดดเด่นนัก นอกจากนั้น ค่า PE ก็คงมีโอกาสสูงขึ้นยากและอาจจะมีแนวโน้มที่ลดลงได้หากเกิดเหตุการณ์ไม่ดีอะไรบางอย่าง ดังนั้น ความหวังที่จะเห็นหุ้นปรับตัวดีขึ้นไปอีกจากปัจจุบันก็อาจจะไม่เป็นจริงได้

ทั้งหมดที่ผมพูดมานั้น ดูเหมือนจะเกี่ยวกับตลาดหุ้นและบริษัทจดทะเบียนโดยรวมมากกว่า บางคนอาจจะเถียงว่าหุ้น VI อาจจะไม่ได้เข้าข่ายดังกล่าว ดังนั้น มันอาจจะไม่ใช่การหมด “ยุคทองของ VI” ในประเด็นนี้ผมเองกลับเห็นว่า การปรับตัวขึ้นของหุ้นในระยะกว่า 10 ปี ที่ผ่านมานั้น หุ้นที่เรียกว่า “VI” นั้น มีการปรับตัวขึ้นมามากกว่าหุ้นกลุ่มอื่น และการปรับตัวขึ้นของมันเองนั้นก็มาจากเรื่องของกำไรที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทและการปรับตัวขึ้นของค่า PE เช่นเดียวกับหุ้นทั่วไป สิ่งที่แตกต่างนั้น ผมกลับคิดว่าหุ้นที่เรียกว่า VI นั้น มีการปรับตัวขึ้นของ PE มากกว่าการเพิ่มขึ้นของกำไร หรือพูดง่าย ๆ โดยเปรียบเทียบแล้ว หุ้น VI นั้น มีราคาแพงขึ้นมากกว่าหุ้นธรรมดา ดังนั้น โอกาสที่หุ้น VI จะทำผลตอบแทนดีกว่าหุ้นทั่วไปในอีก 10 ปีข้างหน้าก็อาจจะยากขึ้นกว่าในอดีตมาก และนี่ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า มันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ใกล้หมดยุคทองของ VI อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ VI เองนั้น ก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพียงแต่อย่าหวังว่ามันจะทำกำไรได้มหาศาลเหมือนเดิม ตัวเลขที่หวังนั้น ผมคิดว่าควรกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 10%-15% ต่อปีในระยะยาวซัก 5-10 ปีข้างหน้า

CR>ดร.นิเวศ  เหมวชิรวรากุล

Friday, October 17, 2014

เทคนิคการลงทุน VI สไตล์มนุษย์เงินเดือน

     

       คนเราอยู่ในยุคที่ได้รับพระพรมากขึ้นๆ ชีวิตของมนุษย์เรายืนยาวกว่าแต่ก่อน ต่อจากนี้ไป... เราทุกคนน่าจะคิดได้ว่า เราต้องทำเงิน 1 ปี เพื่อใช้ 2 ปี

     ทำไมหรือ ? ก็คนเรามีวัยทำงานในช่วง 20 - 60 ปี คือ 40 ปี ถ้าเรามีชีวิตอยู่ถึง 80 ปี เท่ากับว่า เราทำงาน 40 ปี ใช้ 80 ปี แน่นอน... ในช่วง 20 ปีแรก มักเป็นช่วงของการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งพ่อแม่เป็นผู้ดูแลเรา แต่โดยสมดุลของสังคม ดดยเฉลี่ยแล้วเราก็น่าจะดูแลลูกหรือหลานให้ได้การศึกษาเพื่ออนาคตเช่นกัน สรุปแล้วใช้ตัวเลขได้ง่ายๆ ว่า ทำงาน 40 ปี ใช้ 80 ปี

      เริ่มขึ้นมาถึง หลายๆ คนอาจรู้สึกว่า แค่หาเช้ากินค่ำ ใช้เงินให้พอเดือนชนเดือนก็เหนื่อยจะแย่อยู่แล้ว ยังต้องทำมากกว่านั้นเป็นเท่าตัวอีกหรือ? ทำไมชีวิตเราจึงทุกข์นัก ต้องมีภาระหาเงินทองกันมากมายแทบจะตลอดชีวิต

      ชาวคริสเตียน อาจอยากชวนคิดให้เราเห็นชีวิตเช่นนี้ด้วยความ "ขอบคุณพระเจ้า" เสมอ ตั้แต่แรกพระเข้าทรงสร้างโลก ทรงสร้าง อาดัมกับเอวา ก็ไม่ใช่สร้างมาให้เป็นตุ๊กตา แต่ได้มอบหมายให้ดูแลสวน พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งมาอย่างดี เราแต่ละคน พระองค์ทรงสร้างอย่างเจาะจง เพียง "หนี่งเดียวในโลก" จึงทรงสร้างอย่างมีความหมาย

      ชีวิตที่ดี ควรจะต้องไม่มีหน้าที่การงาน อันเป็นชีวิตที่ไร้ค่า อยู่เพียงเพื่อ "กินที่" ในโลกเท่านั้น จริงๆ หรือ? หรือชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีคุณค่าต่อโลกใบนี้ หน้าที่การงานของเรา ได้รับงานที่เราถนัด ล้วนแต่เป็นพระพรอันน่ายินดีของชีวิต

       เรื่องแรกของมนุษย์เงินเดือนที่สำคัญที่สุด คือ "ขอบคุณพระเจ้า" กับหน้าที่การงาน ภารกิจที่ได้ทำ ลูกค้าที่เราได้มีโอกาสให้บริการ ฯลฯ ทำให้มีชีวิตที่มีความหมายในโลกงดงามใบนี้

       เรื่องถัดมา คือ การรู้ตัวว่า เรากำลังดูแลชีวิตของตัวเราเอง และบางคนที่เรารัก เราจึงต้องรู้จัก "ออมและลงทุน" อย่างชาญฉลาด เพื่อให้เงิน ทำงานให้เราบ้าง มีหลายประเด็นที่จะพอสรุปได้เกี่ยวกับการ "ออมและลงทุน" ดังนี้

1. ออมก่อนใช้ : เราส่วนใหญ่ เคยได้รับคำสอนจากพ่อแม่ และผู้ใหญ่มาเป็นอย่างดีว่า

- ใช้ประหยัดนะลูก.... เหลือก็รู้จักเก็บออมเอาไว้
- ใช้ประหยัดนะลูก.... มีเงินเก็บจะได้มีอนาคตที่ไม่ลำบาก

แต่ปัญหาของหลายๆ คน คือ
- ใช้แล้วไม่เห็นเหลือเลย
- ขนาดประหยัดแล้วนะเนี่ย
- ก็ของมันแพงขึ้น ฯลฯ
แต่โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าจะอธิบายว่าอย่างไร ปัญหามันอยู่ที่ "ใช้ก่อนแล้วจึงคิดออม" แต่ถ้าจะวางแผนอย่างดี ผมแนะนำว่า "ออมก่อนแล้วจึงคิดใช้" จึงจะทำให้มีเงินออม ทุกเดือนๆ จริงๆ

2. ลงหุ้นมากๆ ถ้ามีเวลาลงทุนเกิน 10 ปี จากตัวอย่างข้อมูลเปรียบเทียบการลงทุน ตั้งแต่ปลายปี 1998-2012 มีผลดังตารางที่ 1 มีข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการดังนี้

      2.1 ข้อมูล 12 ปีนั้น เป็นข้อมุลจริง และเป็นธรรม มีปีดีกับปีไม่ดี ผสมผสานสลับกันไป มีถึง 2 ปีที่ตลาดหุ้นตกกว่า 40% ซึ่งเลวร้ายมาก เพราะท่านผู้อ่านลองนึกดู

 - ถ้าหุ้นลง 50% แล้วขึ้น 50% จากตอนต้น 100 ตก 50% เหลือ 50 (คิดจาก 100 - 50% ของ 100) เมื่อบวก 50% จะได้เพียง 75% (คิดจาก 50 + 50% ของฐานใหม่ 50)

- ถ้าหุ้นลง 50% แล้วขึ้น 50% จากตอนต้น 100 ตก 50% เหลือ 50 (คิดจาก 100 - 50% ของ 100) เมื่อบวก 50% จึงจะได้ 100 (คิดจาก 50 + 100% ของฐานใหม่ 50) กลับมาเท่าเดิม




          2.2 ผลของปีดี และไม่ดีผสมกัน ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้น (Avg. Return) ในระยะ 10 - 12 ปี ยังเห็นค่อนข้างสม่ำเสมอ ประมาณ 12 - 13% (ตามข้อมูลในช่อง d12 - d14) อัตรานี้ สอดคล้องกันในแทบทุกตลาดหุ้นทั่วโลก

        2.3 หลายคนที่เคยรู้สึกว่าลงหุ้นแล้วเสี่ยง แต่ถ้าเทียบกันตามตารางนี้ จะเห็นว่าถ้าเราเริ่มต้นด้วยเงิน 100 บาท ลงทุน ณ สิ้นปี 1998 (คอลลัมน์ C) ในพันธบัตร (คอลัมน์ E) หรือในเงินฝากธนาคาร (คอลัมน์ F) จะมีมูลค่าสิ้นสุด 549 บาท 219 บาท และ 142 บาทตามลำดับ

        แปลว่า ถ้าเราเริ่มด้วยเงิน 1 ล้านบาท การลงทุนหุ้น จะได้มูลค่าสิ้นสุดปีที่ 12 จำนวน 5.94 ล้านบาท แต่ถ้าลงพันธบัตร จะได้ 2.19 ล้านบาท และลงเงินฝากธนาคารจะได้เพียง 1.42 ล้านบาท เงินอาจจะหายไปร่วม 3.5 ล้านบาท!! เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นได้

         3. ลงทุนเวลานาน เพื่อการเกษียณอย่างมีคุณภาพ จะเสี่ยงน้อยลง หลายคนอาจจะเข็ดจากการ "เล่นหุ้น" ลงแล้วเจ็บ เจ็บแล้วถอย ส่วนใหญ่เป็นเพราะ มักจะเข้าลงทุนแบบ
รอหุ้นขึ้นมากๆ จนมั่นใจแล้วค่อยเข้า
ถือหุ้นเวลาเน่าๆ จนเศร้าใจ แล้วค่อยขาย

ทำให้มักจะ "เข้าซื้อตอนแพง" คือ ขึ้นมามากแล้ว และ "ออกจากหุ้นตอนถูก" คือ อารมณ์ทนไม่ไหวแล้ว ซึ่งขัดกับ คาถาการลงทุนให้ประสบความเสำเร็จว่า "ซื้อถูก...ขายแพง" แต่นัดเก็งกำไรหน้าใหม่ มักจะเป็น "ซื้อแพง...ขายถูก"

วิธีหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหา คือ ลงทุนนานๆ นับ 10 ปี ผมลองยกตัวอย่างเทียบกับการทอดลูกเต๋า การลงทุน 1 ปี เปรียบเหมือนทอดลุกเต๋าลูกเดียว

6 คือ โชคดี
1 คือ โชคไม่ดี

          ทอดลูกเดียวก็มีโอกาสขึ้น 6 ก็ได้ 1 ก็ได้ พอๆ กัน แต่ถ้าเราทอด 10 ลูก แล้วเอามาหาค่าเฉลี่ยก่อนค่าเฉลี่ยนั้น ก็คงไม่ใช่ 6 หรือ 1 แต่คงเดาออกว่า น่าจะอยู่แถว 3 หรือ 4 มากกว่า เสมือนการลงทุน 10 ปี ผลตอบแทน "เฉลี่ย" จะมั่นคง มีเสถียรภาพ ไม่แกว่างมากเหมือนลงทุนสั้นๆ

       4. ลงทุนกระจายความเสี่ยง อาจเป็นการลงทุนใน "กองทุนหุ้น" ถ้าเราลงหุ้นใดหุ้นเดียว หุ้นนั้น อาจมีวันที่ดี และวันที่ไม่ดี เช่น แม้แต่หุ้นธนาคารใหญ่ๆ เช่น Lehman Brother ก็ยังเจ๊งได้ หุ้นกิจการอย่าง Kodak ผุ้นำฟิล์ม ก้ล้มละลายได้เช่นกัน เราจึงควรเรียนรู้ที่จะลงทุนกระจายความเสี่ยง เช่นการลงทุนผ่านกองทุน ซึ่งจัดการโดย บจล. ต่างๆ หรืออาจลงทุนกองทุนดัชนี เช่น TDEX ซึ่งลงหุ้นตาม SET50 Index คือ เฉลี่ยในหุ้น 50 หุ้นที่ถือว่าดีที่สุดในตลาดฯ หรือ กองทุนจัมโบ้ 25 ของ บจล.ทหารไทย ก็ลงทุนในหุ้นประมาณ 25 หุ้นในตลาดหุ้นไทย

      5. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รัฐบาลได้ให้ประโยชน์ภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนระยะยาวมากทุกๆ รัฐบาลโดยให้ประโยชน์ในการหักลดหย่อนภาษีกับ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน RMF หรือ กองทุน LTF ประเภทหุ้นก็ดีนอกจากได้ผลตอบแทนหุ้นที่กล่าวมาแล้ว ยังช่วยประหยัดภาษีด้วยอย่างมาก

       6.ลงทุนด้วย "เงินสม่ำเสมอ" ทุกเดือน แทนที่จะลงทุน "เดือนละ 300 หน่วย" อาจลงทุน "เดือนละ 3000 บาท" เพราะ อีกเคล็ดลับหนึ่งของความสำเร็จคือ การใช้เงินลงทุนเท่ากัน ในแต่ละรอบที่ลงทุนสะสม เพราะหลักทรัพย์มีราคาขึ้นสูง ลงต่ำ เช่น TDEX ตอนตลาดดีๆ เคยมีราคาถึง 10 บาท และตอนตลาดต่ำกว่านี้ เคยอยู่ที่ 5 บาท

ตอนหลักทรัพย์แพง คือ 10 บาท เงิน 3,000 บาท จะซื้อได้ 300 หน่วย
ตอนหลักทรัพย์ถูก คือ 5 บาท เงิน 3,000 บาท จะซื้อได้ 600 หน่วย

        จะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ "เงินสม่ำเสมอ" ทำให้ได้ "หุ้นถูก" มากกว่า "หุ้นแพง" ต้นทุนเฉลี่ยนก็จะถูกกว่าและช่วยให้การลงทุนในได้ผลตอบแทนดีขึ้น

          ก็หวังว่า จะเป็นข้อแนะนำ กลยุทธการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับ "มนุษย์เงินเดือน" ในฐานะ "มนุษย์เงินเดือน" มานานกว่า 10 ปีคับ ถ้าใครลงสูตรนี้ด้วยเงินซักเดือนละ 3,000 บาท ตั้งแต่อายุประมาณ 25-30 ปี น่าจะมีเงินตอนเกษียณอย่างน้อยๆ 10 ล้านบาททีเดียวคับ รับรองได้

Thursday, October 16, 2014

นิสัยที่ดีในการลงทุน

   

      เมื่อเราเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ ๆ และชอบที่จะทำสิ่งนั้น   สิ่งที่เราเรียนรู้ที่จะทำจะเป็นนิสัยติดตัวเราตลอด  ไม่มีวันจืดจาง   วันนี้ผมจะพูดถึงนิสัยที่ดีสำหรับการลงทุนคับ  โดยจะแบ่งออกเป็นสามช่วง  เชิญอ่านเลยคับ


นิสัยที่ดีใจการลงทุน  ช่วงก่อนการลงทุน

        ใครไม่อยากสิ้นเปลืองทรัพยาการการเงินไปโดยไม่จำเป็น  ก่อนเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จะต้อง

1. ตอบให้ได้ว่า "เป้าหมายการลงทุนคืออะไร" ต้องการจะบรรลุดป้าหมายนั้นเมื่อไรและจำนวนเงินสำหรับลงทุนที่เหมาะสมของเราคือเท่าไร   เรามีเงินออม  เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินแล้วหรือยัง  เพื่อให้การสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุนมีทิศทางที่ชัดเจน  การสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อน  เป็นขั้นตอนที่สำคัญ

2. รู้และเข้าใจ "ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน" ว่าแต่ละประเภทคืออะไร ให้ผลตอบแทนอย่างไร มีความเสี่ยงเฉพาะตัวอะไรบ้าง  เหมาะสมกับความต้องการและจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้หรือไม่  ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมายให้เราเลือกลงทุนได้ตามความเหมาะสม  ทั้งในด้านจำนวนเงินลงทุน  ระดับความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน อย่างเช่น  กองทุนรวมตลาดเงิน  กองทุนรวมตราสารหนี้  กองทุนรวมตราสารทุน  กองทุนรวม LTF กองทุนรวม RMF กองทุนรวมผสม พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ  ฟิวเจอร์ส และออปชั่นประเภทต่างๆ เป็นต้น

3. ต้องแน่ใจว่า "เข้าใจวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์" การส่งคำสั่งซื้อขาย รู้จักเปรียบเทียบและเลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงและพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่  มีเจ้าหน้าที่การตลาดที่มีความรับผิดชอบ  มีบทวิเคราะห์ที่ดี  เชื่อถือได้  มีระบบการซื้อขายที่ทันสมัยและที่สำคัญมีจรรยาบรรณในการดำเนินงาน

4. วางแผนการลงทุนให้ชัดเจน  ว่าจะกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง สัดส่วนการลงทุนเป็นอย่างไร  และที่สำคัญควรกำหนดอัตราขาดทุนที่ยอมรับได้ไว้ด้วย

      รู้จักตัวเอง  รู้จักเครื่องมือ  เข้าใจวิธี  มีแผนชัดเจน  เพียงเท่านี้ประตูแห่งโอกาสในการทำกำไรก็เปิดรอให้เราเดินเข้าไปลงทุนอย่างมั่นใจแล้ว

 นิสัยที่ดีในการลงทุน  ช่วงการลงทุน

       เมื่อเตรียมความพร้อมอย่างดีแล้ว นักลงทุนที่ดีจะต้องขยันทำการบ้านอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะในช่วงตัดสินใจลงทุนซึ่งเป็นช่วงสำคัญมาก  เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อการลงทุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  นักลงทุนที่ดีจึงต้อง

1. เข้าใจเรื่องผลตอบแทนและความเสี่ยง  เพราะการลงทุนในหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงย่อมจะมีความเสี่ยงสูงด้วย  การประเมินความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ จะช่วยให้เราสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีประสิทธิภาพได้จากระดับความเสียงที่ยอมรับได้  ณ  อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม

2. เข้าใจการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน  เพราะการลงทุนในหุ้นก็คือการลงทุนในธุรกิจของบริษัท  เราจึงต้องเข้าใจพื้นฐานของบริษัทที่จะลงทุน  การเข้าใจสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมวัฏจักรธุรกิจตลอดจนผลการดำเนินงานแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ ฐานะทางการเงิน  นโยบายการจ่ายเงินปันผล  กลยุทธ์การดำเนินงานและความมีจรรยาบรรณของผู้บริหาร  จะทำให้เราเฟ้าหาบริษัทที่ดี  ในราคาที่เหมาะสมได้  ทั้งนี้  นักลงทุนที่ดีควรมองเป้าหมายการลงทุนระยะยาวเป็นหลัก  ดังนั้น  ในการคัดเลือกบริษัทที่ดีจึงต้องเน้นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานสม่ำเสมอไม่ผันผวนตามสภาพแวดล้อมมากนัก  นอกจากนี้ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะทำให้เราทราบมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน   หากมูลค่าของหลักทรัพย์สูงกว่าราคาที่ซื้อขายกันในตลาดก็ถือว่าเป็นหลักทรัพย์ที่น่าลงทุน เพราะตาลกลไลตลาด  ราคาหลักทรัพย์จะปรับตัวเข้าหามูลค่าที่แท้จริงเสมอ  ส่วนเคล็ดลับง่ายๆ ในการทำความเข้าใจพื้นฐานของบริษัท  ก็คือให้เริ่มต้นจากเลือกบริษัทที่มีสินค้าหรือบริการที่เรารู้จักหรืออาจจะใช้บริการเป็นประจำ  เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจลักษณะของธุรกิจ  คาดการณ์โอกาส  ข้อจำกัด  รวมทั้งติดตามการดำเนินการได้อย่างชัดเจน

 3.เข้าใจ Benchmark หรือดัชนีราคาหุ้น ได้แก่ SET Index SET50 Index SET100 Index หรือ mai Index ซึ่งจะสะท้องภาพรวมของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ว่าราคาหลักทรัพย์โดยรวมมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดเมื่อเทียบกับในอดีต

4. มีวินัยในการลงทุน  เมื่อเรามีแผนการลงทุนที่เหมาะสมและชัดเจนแล้วเราควรปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้อย่างมีวินัยด้วย  เพราะการมีวินัยในการลงทุนจะช่วยให้เราไม่หวั่นไหวไปตามความผันผวน  ตามกระแสหรือข่าวลือที่จะมาสร้างความวิตกกังวลในระยะสั้น  วินัยในการลงทุนเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะพาเราเดินทางไปสู่เป้าหมายทางการเงินได้อย่างมั่นคง

นิสัยที่ดีในการลงทุน  ช่วงหลังการลงทุน

     เมื่อตัดสินใจลงทุนไปแล้วอย่างรอบคอบ  ความอุ่นใจจากอนาคตที่มั่นคงก็จะเกิดขึ้นและจะสร้างความสุขให้เราได้ทุกวัน  เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจในระยะยาว  นักลงทุนที่ดีจะต้อง

1. บันทึกการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเป็นบันทึกช่วยเตือนความจำและเพื่อประโยชน์ในการติดตามการลงทุน

2. ติดตามข้อมูลข่าวสารและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ลงทุนไว้และติดตามสภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง  เผื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจจะเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ลงทุนไว้เกิดขึ้น  จะได้พิจารณาปรับเปลี่ยนการลงทุนได้ทันท่วงที

3. ทบทวนพอร์ตการลงทุนอย่างน้อยทุกสิ้นเดือนหรือไตรมาส  เพราะบริษัทจะสรุปและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานทุกไตรมาส  จึงเป็นจังหวะเวลาที่ดีสำหรับทบทวนตรวจสอบพอร์ตการลงทุนโดยรวมไปด้วย  หากพบว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานไม่เป็นตามที่คาดการณ์ไว้บ่อยๆ จะได้ปรับพอร์ตการลงทุน

4.ทำความเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้น  เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการลงทุนอย่างเต็มที่  นักลงทุนที่ดีจะต้องรู้จักใช้สิทธิของตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อกำกับดูแลบริษัทและการปฏิบัตงานของผู้บริหารให้เป็นไปตามกฏระเบียบต่างๆ  อย่างเคร่งครัด ซึ่งการใช้สิทธิของนักลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้กลไกบรรษัทภิบาลที่ดีทำงานได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น  การใช้สิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น  การใช้สิทธิตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการและผู้บริหารบริษัท เป็นต้น

5. สนุกกับการลงทุน  ทัศนคติที่ดีต่อการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ  หากเรามองการลงทุนเป็นการเรียนรู้  เป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เราก็จะไม่เครียด  ไม่วิตกกังวล  เมื่อการลงทุนกลายเป็นเรื่องสนุก  ท้าทาย  เราก็จะมีความสุขได้ทุกวัน


      เมื่อเราสร้างนิสัยที่ดีในการลงทุนและใช้อย่างต่อเนื่องแล้ว  นิสัยที่เราบ่มเพราะภูมิคุ้มกันให้เราในตลาดหุ้น  มีนักลงทุนมากมายที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน  โดยเริ่มต้นบ่มเพราะนิสัยและความละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่นานวันก็หล่อหลอมออกมาเป็นแนวทางการลงทุนที่เยี่ยมยอม  เพราะความสำเร็จในการลงทุน    ใครๆ ก็สร้างได้  ขอเพียง  มีใจรัก  พากเพียรทำ  เอาจิตฝักใฝ่  ใช้ปัญญาสอบสวน

สุดท้ายนี้ขอให้เพื่อน ๆ นักลงทุนทั้งมือใหม่  และมือเก่า  ประสบความสำเร็จตามปรารถนาทุกคนคับ

ขอให้โชคดีคับ



ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน

Prepaid Expenses/Other Current Assets
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า / สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ
งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)

       เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
       สินค้าคงคลัง
      ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
Ò ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า



$4,208
2,220
3,317
2,260
Ò สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ – รวม                                        0
      รวม สินทรัพย์หมุนเวียน
$12,005











      

ในบางครั้งบริษัทจะชำระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้าสำหรับสิ่งที่จะได้รับอันอนาคตที่ใกล้ แม้ว่าจะยังไม่ได้ครอบครองสินค้าหรือได้รับประโยชน์จากการบริการที่ซื้อก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่ได้รับสินค้าหรือบริการแต่บริษัทก็ได้ชำระเงินล่วงหน้า ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสินทรัพย์ของบริษัท และถูกบันทึกในหมวด สินทรัพย์หมุนเวียนเป็น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ตัวอย่างหนึ่งคือ เบี้ยประกันภัยสำหรับปีที่จะมาถึงซึ่งชำระไปแล้วล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าไม่ได้บอกอะไรมากถึงธรรมชาติของธุรกิจ หรือการที่บริษัทจะได้รับประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่
                สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ คือสินทรัพย์ที่ไม่ใช่เงินสด ซึ่งแม้จะครบกำหนดภายใน 1 ปี แต่ขณะนี้ยังไม่อยู่ในมือของบริษัท รายการเหล่านี้ เช่น ภาษีคืนที่ยังไม่ได้บันทึกบัญชี ซึ่งมีกำหนดได้รับภายใน 1 ปี แต่ยังไม่ฝช่เป็นเงินสดในมือ ณ ขณะนั้น เป็นต้น


Total Current Assets and The Current Ratio
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน และอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
งบดุล/สินทรัพย์
($ ล้าน)

       เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น
       สินค้าคงคลัง
      ลูกหนี้การค้า – สุทธิ
      ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า



$4,208
2,220
3,317
2,260
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ – รวม                                          0
Ò รวม สินทรัพย์หมุนเวียน
$12,005











      

 เป็นเวลานานมาแล้วที่ยอด รวมสินทรัพย์หมุนเวียน คือตัวเลขที่มีบทบาทสำคัญสำหรับการวิเคราะห์การเงิน นักวิเคราะห์มักจะเถียงกันว่า การหักหนี้สินหมุนเวียนของบริษัทออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน จะทำให้พวกเขาได้ไอเดียว่า บริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นที่ผูกพันอยู่หรือไม่ และได้พัฒนา อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (current ratio) ซึ่งมาจากการนำ สินทรัพย์หมุนเวียน มาหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน ยิ่งได้อัตราส่วนสูงเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าบริษัทมีสภาพคล่องมากเท่านั้น อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 จัดว่าดี และอะไรที่ต่ำกว่า 1 จัดว่าแย่ เพราะเชื่อกันว่าหากต่ำกว่า 1 บริษัทอาจมีปัญหาในการชำระหนี้สินระยะสั้นให้กับเจ้าหนี้ของบริษัทได้
                สิ่งที่น่าขันเกี่ยวกับหลายบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนคือ บ่อยครั้งที่อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทเหล่านี้จะอยู่ต่ำกว่าตัวเลขอัศจรรย์คือ 1 โดยตัวเลขของมูดี้ส์อยู่ที่ .64 โคคา-โคล่าที่ .95 พร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิล ที่.82 ,และอันฮอยเซอร์-บุช ที่.88 ซึ่งตามมุมมองของนักวิเคราะห์สมัยเก่าหมายความว่า บริษัทเหล่านี้อาจมีปัญหาในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของบริษัท ความจริงก็คือบริษัทเหล่านี้มีอำนาจในการทำกำไรที่แข็งแกร่งมากจนทำให้พวกเขาสามารถชำระหนี้สินหมุนเวียนได้อย่างสบาย นอกจากนี้ ผลจากความสามารถในการทำกำไรมหาศาล บริษัทเหล่านี้ยังไม่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์จากตลาดตราสารระยะสั้นในราคาถูกหากพวกเขาต้องการเงินสดระยะสั้นด้วย
                จากความสามารถเยี่ยมยอดในการทำกำไร บริษัทเหล่านี้ยังสามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงและซื้อหุ้นคืนทั้ง 2 อย่างจะช่วยลดเงินสดสำรอง ซึ่งจะดึงอัตราเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทให้อยู่ต่ำกว่า 1 อย่างไรก็ตามอำนาจในการทำกำไรที่สม่ำเสมอซึ่งมาควบคู่กับความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนนี่เอง ที่จะเป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัทสามารถชำระหนี้สินหมุนเวียนได้ และไม่ตกเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในวัฏจักรของธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจถดถอย

                สรุปก็คือ มีหลายบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน ซางมีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 และบริษัทเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขอัตราเงินทุนหมุนเวียนแทบจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ในการบ่งชี้ว่า บริษัทใดมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่